พ-Plastic

  • จากการศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง ได้ตรวจสอบตัวอย่างอุจจาระจากผู้ป่วยโรคลำไส้ประเภทหนึ่ง 52 คน และคนที่ไม่มีอาการ 50 คน จากภูมิภาคต่าง ๆ ของจีน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นโรคลำไส้มีอนุภาคไมโครพลาสติกต่อกรัมมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการใด ๆ ถึง 1 เท่าครึ่ง นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งหนานจิง (Nanjing University in Science) ของจีนได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจโดยพบว่า ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคลำไส้ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า Inflammatory bowel disease (IBD) มีไมโครพลาสติกในอุจจาระมากกว่าคนที่ไม่มีการวินิจฉัยถึง 50% IBD …

  • วันนี้ การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังคงดำเนินต่อไปพร้อม ๆ กับการปรับตัวและเปลี่ยนพฤติกรรมของเราทุกคนให้สอดคล้องวิถีความปกติใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะด้านสุขอนามัย และความปลอดภัยในการใช้ชีวิตที่จะต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งได้ส่งผลให้มีการใช้พลาสติกมากขึ้น และกลายเป็นการเพิ่มเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอยู่แล้วให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นด้วย ปัญหามลพิษจากขยะพลาสติกนับเป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมาตั้งแต่ก่อนมีการระบาดของโคโรนาไวรัส  และยิ่งเติบโตขึ้นอย่างน่าตกใจในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้จำเป็นต้องได้รับแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการลดละเลิกการใช้พลาสติกโดยเฉพาะแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง รวมทั้งมีการบริหารจัดการอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การรวบรวมพลาสติกนำกลับไปใช้ประโยชน์ หรือรีไซเคิลเป็นวัตถุดิบในภาคอุตสาหกรรมตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการใช้ทรัพยากร ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่าย และด้วยการลงมือทำของทุกคน เป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษมาแล้วที่ “ไทยเบฟ” ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ …

  • ขยะพลาสติกที่เป็นส่วนหนึ่งของมลพิษที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เพราะพลาสติกใช้เวลาในการย่อยสลายนาน 450-500 ปี ฉะนั้นทางเลือกก็คือต้องเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อให้มันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพเหมือนขยะอินทรีย์ทั่วไป จะได้ช่วยกันลดสาเหตุ ‘ภาวะโลกร้อน’ ที่กำลังเป็นภัยคุกคามมวลมนุษยชาติอยู่ในเวลานี้ “ราคาของพลาสติกชีวภาพในไทยมีราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป 2-3 เท่าหรือมากกว่า ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่สูงได้ จึงใช้วิธีการผสมสาร OXO กับพลาสติกธรรมดาทั่วไปซึ่งย่อยสลายไม่ได้กลายเป็น Oxo-degradable หรือ Oxo-biodegradable (อาจใช้คำเรียกที่แตกต่างไปจากนี้ อาทิ Environmentally Degradable Plastic หรือ EDP) แต่โฆษณาว่าย่อยสลายได้ “ในความเป็นจริงพลาสติกเหล่านั้นเมื่อเจอกับสภาพแวดล้อมอย่างแสงแดดหรืออากาศจะทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก ปนเปื้อนในดิน น้ำ อากาศกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม …

  • รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นรัฐแรกในออสเตรเลียที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use Plastic) หลังจากร่างกฎหมาย The Single-use and Other Plastic Products (Waste Avoidance) Bill 2020 เข้าสภาเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563 และผ่านออกมาเป็นกฎหมายในเดือนกันยายนปีเดียวกัน จากนั้นก็มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2564

  • จากห้องแล็บสู่การใช้งานจริง สวทช.ร่วมมือเอกชนผลิตถุงพลาสติกย่อยสายได้แจกในงาน ‘กาชาดสีเขียว 2562’ ที่สวนลุมพินี ระหว่างวันที่ 15-24 พ.ย.นี้ เป็นถุงพลาสติกสลายตัวได้สำหรับขยะอินทรีย์ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ผลิตขึ้นโดยนักวิจัยไทยและภาคเอกชน

  • รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า ผลงานวิจัยของคณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล จากสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาลัยวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 เรื่อง มีดังนี้ 1) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสดจำนวน 165 ตัวอย่าง และ 2) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสด

Copyright @2021 – All Right Reserved.