มั่วทำอีไอเอเหมืองแร่หินสตูล กระทบชุมชน-อุทยานธรณีโลก

กลุ่มรักษ์เขาโต๊ะกรัง จาก อ.ควนกาหลง จ.สตูล ทำหนังสือถึงอุตสาหกรรมจังหวัดสตูล เมื่อร็ว ๆ นี้ เพื่อคัดค้านการจัดทํารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และคัดค้านการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ในโครงการทําเหมืองชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างของบริษัท ภูทองอันดา 

ประชาชนกลุ่มนี้ให้เหตุผลว่า กระบวนการจัดทำอีไอเอไม่โปร่งใส มีการบิดเบือนข้อมูล ไม่เชิญผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วม จึงขอให้พิจารณาทบทวนยกเลิกรายงานอีไอเอฉบับดังกล่าวตามที่ได้มีการเสนอให้คณะกรรมการชำนาญการ หรือ คชก. พิจารณาเมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2564 และ คชก.เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลของรายงานฯ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ประชาชนจากสตูลกลุ่มนี้กังวลว่า การสัมปทานเหมือนแร่ครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่ออุทยานธรณีโลก จ.สตูล (Satun UNESCO Global Geopark) ได้รับการประกาศจากยูเนสโกเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2561 ให้เป็นพื้นที่อุทยานธรณีโลกแห่งแรกของประเทศไทยจาก 140 แห่งใน 38 ประเทศ ที่จะต้องมีการประเมินพื่อรักษาสถานภาพ ซึ่งหากไม่ผ่านอาจถูกถอดถอนจากการเป็นอุทยานธรณีโลก 

กลุ่มประชาชนจากสตูลจึงขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและดําเนินการ ดังนี้

  1. เพิกถอนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ ของบริษัท ภูทองอันดา คําขอประทานบัตรที่ 4/2559 ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 6 ต.ควนโดน อ.ควนโดน จ.สตูล ออกจากการรับไว้พิจารณา และให้ถือว่ารายงานฉบับดังกล่าวเป็นโมฆะ พร้อมยกคําขอประทานบัตรดังกล่าวเสีย
  2. ขอใช้สิทธิตาม มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. ข้อมูลข่าสารของราชการ พ.ศ. 2540 ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอประทานบัตรของบริษัท ภูทองอันดา ตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบัน รวมทั้งเอกสารรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการฯ
  3. ตั้งคณะกรรมการจากส่วนกลางตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขั้นตอนการขอประทานบัตรและการตรวจสอบพื้นที่ที่อาจไม่ได้ดําเนินการตามข้อกฎหมายและบิดเบือนข้อเท็จจริง
  4. เสนอพื้นที่ดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) เพื่อยกเลิกพื้นที่ดังกล่าวออกจากการเป็นแหล่งหินอุตสาหกรรม เนื่องจากพื้นที่เขาโต๊ะกรังเป็นพื้นที่ป่าน้ำซับซึม และโดยรอบได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแหล่งโบราณสถานไว้แล้ว จํานวน 8 แห่ง และเพื่อให้สอดคล้องและไม่กระทบกับความเป็นเมืองอุทยานธรณีโลก
  5. เสนอพื้นที่เขาโต๊ะกรังและกลุ่มภูเขาข้างเคียงที่ค้นพบแหล่งโบราณคดี เป็นพื้นที่อุทยานธรณีโลกสตูลหรือพื้นที่เชื่อมโยงเพิ่มเติม เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยาและวัฒนธรรม และสอดคล้องกับแนวทางการประเมินของยูเนสโกที่ต้องรับการประเมินในปี 2565

#สตูล #เขาโต๊ะกรัง #สัมปทานเหมืองแร่หินปูน #อุทยานธรณีโลกสตูล

Related posts

คลื่นความร้อนซ้ำเติมฝุ่น PM2.5 อาเซียนเผชิญสภาพอากาศสุดขั้วเพิ่มขึ้น

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

‘โคคา-โคล่า’ ยืนหนึ่งก่อมลพิษพลาสติก
สัดส่วน 11% สูงที่สุดในโลก