Ocean

Ocean

  • “อ่าวมาหยา” คืนชีพ! พบฝูง “ฉลามครีบดำ” 158 ตัว บ่งชี้ความสำเร็จด้านการอนุรักษ์ ข่าวดีสำหรับวงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ทีมนักวิจัยจากศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 (ตรัง) ค้นพบฝูงฉลามครีบดำ (Carcharhinus melanopterus) จำนวน 158 ตัว ในอ่าวมาหยา อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา – หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ระหว่างการสำรวจในโครงการ “Shark Watch Project” วันที่ 2-8 กรกฎาคม 2568 …

  • นักวิจัยญี่ปุ่นจาก RIKEN และ ม.โตเกียว พลิกโฉมวงการด้วยพลาสติกที่ละลายในน้ำทะเลได้ในไม่กี่ชั่วโมง ทางออกใหม่เพื่อสู้มลภาวะมหาสมุทรและปกป้องสัตว์ป่า นักวิจัยจากศูนย์ RIKEN Center for Emergent Matter Science และมหาวิทยาลัยโตเกียวในญี่ปุ่น ได้พัฒนาพลาสติกชนิดใหม่ที่สามารถละลายในน้ำทะเลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ถือเป็นนวัตกรรมที่อาจช่วยแก้ปัญหามลภาวะในมหาสมุทรและปกป้องสัตว์ป่าจากภัยคุกคามของขยะพลาสติกในยุคปัจจุบัน แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะทดลองกับพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมานาน แต่ทีมวิจัยระบุว่า วัสดุชนิดนี้ย่อยสลายได้เร็วกว่ามาก และไม่ทิ้งร่องรอยตกค้าง ในการสาธิตที่ห้องปฏิบัติการในเมืองวาโก ใกล้กรุงโตเกียว ชิ้นพลาสติกขนาดเล็ก สามารถหายไปในน้ำเกลือได้หลังจากกวนเพียงราวหนึ่งชั่วโมง ทาคุโซ ไอดะ หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า วัสดุนี้มีความแข็งแรงเทียบเท่าพลาสติกจากปิโตรเลียม แต่จะสลายตัวเป็นส่วนประกอบเดิมเมื่อสัมผัสกับเกลือ …

  • 8 มิถุนายน 2568 – วันทะเลโลก (World Oceans Day) เชิญชวนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของมหาสมุทร แหล่งชีวิตที่ครอบคลุม 70% ของโลก ร่วมปกป้องทรัพยากรทางทะเลจากมลพิษ การประมงเกินขนาด และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยกิจกรรมทั่วโลกและในไทย เพื่อทะเลที่ยั่งยืน วันที่ 8 มิถุนายนของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันทะเลโลก” (World Oceans Day) โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของมหาสมุทรที่มีต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกและกระตุ้นให้ทุกคนตระหนักถึงบทบาทของตนในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล มหาสมุทรครอบคลุมพื้นที่กว่า 70% ของพื้นผิวโลก เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนับล้านชนิด …

  • เจ้าหน้าที่อุทยาน ลุยเก็บ “ขยะทะเล” เกาะพีพี ลดภัยเงียบที่อาจคุกคามชีวิตสัตว์ทะเลหายาก จากสถิติพบว่า ในปี 2560 ประเทศไทยปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเลประมาณ 1.03 ล้านตันต่อปี ภาพของเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ พพ.5 (อ่าวมาหยา) ร่วมกับ ทีมเรือผู้ประกอบการจากบริษัทดีเดย์ ร่วมกันเก็บขยะลอยน้ำ ที่พัดเข้ามายังบริเวณ อ่าวมาหลง เกาะพีพีเล อันเนื่องมาจากผลกระทบของคลื่นลมแรงในช่วงมรสุม เพื่อป้องกันไม่ให้ตกค้างในทะเล และเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลในพื้นที่ สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การเก็บขยะในทะเล…ไม่ใช่แค่เรื่องความสะอาด แต่คือการลดภัยเงียบที่อาจคุกคามชีวิตสัตว์ทะเลหายาก และแนวปะการังในระยะยาว ขยะทะเลในประเทศไทย: ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขอย่างครอบคลุม …

  • “เฉลิมชัย” ปลื้มพบ พะยูนไทย 25 ตัว หากินเกาะลิบง-มุกด์ จ.ตรัง สะท้อนความสำเร็จฟื้นฟูหญ้าทะเล ขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมอนุรักษ์ ขอสานต่อให้พะยูนคู่ทะเลไทย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยระหว่างลงพื้นที่ตรวจติดตามการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายหาดในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ถึงกรณีที่ศูนย์ศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 (ตรัง) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) สำรวจพบ พะยูนถึง 25 ตัว เข้ามาหากินหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิบง และเกาะมุกด์ ในทะเลตรัง ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของความพยายามแก้ไขปัญหาวิกฤตพะยูนและหญ้าทะเล …

  • กรมศุลกากร ตรวจยึด “ครีบปลาฉลาม” 402 ชิ้น ลักลอบนำเข้าจากตรินิแดดและโตเบโก ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หลังได้รับข้อมูลจากศุลกากรจีน มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท เข้าข่ายผิดกฎหมายหลายฉบับ  เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ โฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ที่เน้นย้ำให้กรมศุลกากรเข้มงวดป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า-ส่งออกสินค้าผิดกฎหมาย …