พยากรณ์ฝุ่นควันข้ามพรมแดนยาวถึง 1 เม.ย. จี้รัฐทบทวนกลุ่มทุนนำเข้าข้าวโพด

วันนี้ (30 มี.ค. 2566) สภาลมหายใจภาคเหนือจัดเสวนาเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นควันในพื้นที่ภาคเหนือ ภายใต้หัวข้อ “ฝุ่นข้ามแดนมีสัดส่วนกี่% ของฝุ่นทั้งหมด” โดยมี ผศ.ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ หัวหน้าศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้คิดค้นภาพจำลองการพยากรณ์ฝุ่น

ผศ.ดร. ชาคริต เผยว่าจากการเก็บข้อมูลฝุ่นควันใน 9 จังหวัดภาคเหนือ โดยพบว่าในกรณีที่ 9 จังหวัดภาคเหนือไม่มีการเผาเลยสัดส่วนหมอกควันข้ามพรมแดนเดือนมกราคม 2019 อยู่ที่ 30-40% เดือนกุมภาพันธ์ 2019 อยู่ที่ 50-60% และเดือนมีนาคมอำเภอตะเข็บชายแดนอย่างอำเภอแม่สายและน่านได้รับผลหมอกควันข้ามพรมแดนมากกว่า 80%

นอกจากนี้ผศ.ดร. ชาคริตยังได้เก็บข้อมูลและทำการวิจับจำลองแบบเดียวกันในปี 2020 พบกว่าสัดส่วนหมอกควันข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้นจากปี 2019 เล็กน้อยและเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งข้อมูลชุดดังกล่าวยืนยันได้ว่าอ.แม่สายได้รับอิทธิผลฝุ่นควันจากการเผาของประเทศเพื่อนบ้านชัดเจน

ทั้งนี้ผศ.ดร.ชาคริต ระบุเพิ่มเติมว่าจากการพยากรณ์อัตราการระบายอากาศและความเร็วลมในวันที่ 27 มี.ค. 66 พบว่า สถานการ์ฝุ่น PM2.5 จะยังอยู่ไปจนถึงวันที่ 1 เม.ย. 66 แม้ในช่วงกลางวันจะมีลมและลดความตึงเครียดของสถานการณ์ได้ แต่ในตอนหลางคืนจะยังมีการสะสมของฝุ่นมากเนื่องจากการระบายอากาศค่อนข้างแย่

ผศ.ดร. ชาคริตแนะว่าปัญหา PM2.5 จากการเผาในที่โล่ง ผู้นำแต่ละประเทศในภูมิภาคควรกำหนดตัวชี้วัดและหาทางออกร่วมกัน หรือการเอาโมเดลการเก็บภาษีคาร์บอนเครดิตข้ามประเทศ ( CBEM ) เข้ามาใช้ในการเจรจาเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฝุ่นข้ามแดนในระยะยาว เพราะถึงเราไม่เผาฝุ่นควันข้ามแดนก็ลอยมาอยู่ดีและในทางกลับกันเมื่อเราเผาประเทศเพื่อนบ้านก็ได้รับอิทธิพลฝุ่นควันข้ามแดนเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้นายชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สายได้เสนอแนวทางแก้ไขฝุ่นควันโดยมุ่งเป้าไปที่แรงจูงใจในการเผา ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพด ดังนั้นเพื่อการเกษตรโดยการปลูกเพื่อการเกษตรส่วนใหญ่คือการปลูกข้าวโพด

ในเวทีเสวนายังมีผู้เข้าร่วมเสนอแนวคิดและวิธีการที่จะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันแบบระยะยยาว ทั้งการควบคุมไฟในพื้นที่ของประเทศไทย และการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการเผาในพื้นที่เกษตร เนื่องจากมีกลุ่มทุนรายใหญ่รับซื้อข้าวโพดเป็นจำนวนมาก รัฐบาลควรศึกษาถึงผลกระทบจากการเผาเพื่อสร้างแรงกดดันให้กลุ่มทุนรับทราบถึงความเดือนร้อนของประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดสรรพื้นที่การเกษตรให้ประชาชนอย่างถูกต้อง

Related posts

คลื่นความร้อนซ้ำเติมฝุ่น PM2.5 อาเซียนเผชิญสภาพอากาศสุดขั้วเพิ่มขึ้น

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

‘โคคา-โคล่า’ ยืนหนึ่งก่อมลพิษพลาสติก
สัดส่วน 11% สูงที่สุดในโลก