ชัชชาติ’ สั่งเร่งลอกคลองในกรุงเทพฯ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ แก้ปัญหาน้ำท่วม เผยคลองบางซื่อไม่ได้ขุดลอกมา 13 ปี

‘ชัชชาติ’ สั่งเร่งลอกคลองในกรุงเทพฯ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแก้ปัญหาน้ำท่วม เผยคลองบางซื่อไม่ได้ขุดลอกมา 13 ปี

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ลงพื้นที่ตรวจระบบระบายน้ำที่สถานีสูบน้ำคลองบางซื่อ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2565 ซึ่งเป็นประตูระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยนายชัชชาติ ระบุว่า ระบบระบายน้ำหลักคือระบบคลองและอุโมงค์ระบายน้ำ แต่หัวใจหลักๆการระบายน้ำทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก คือ ตัวคลองเพราะอุโมงค์ 4 โครงการมีแค่ 20 กม. รับน้ำได้ 200 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยกทมงต้องระบายน้ำ 2,000 ลบ.ม.ต่อวินาที

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่ตรวจสถานีสูบน้ำคลองบางซื่อ

หลักการคือน้ำระบายมาตามคลองและมาถึงประตูระบายน้ำซึ่งมีประตูกั้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาและต้องสูบออก คลองย่อยก็มาคลองหลัก ๆ ก็สูบออกแม่น้ำเจ้าพระยา ยุทธศาสตร์คือต้องเพิ่มประสิทธิภาพคลอง จะทำแต่อุโมงไม่ได้เพราะรับน้ำได้เป็นจุดๆ

สำหรับคลองบางซื่อเป็นตัวหลักที่รับน้ำจากคลองเปรมประชากร และคลองลาดพร้าว แต่คลองบางซื่อไม่ได้ขุดมา 13 ปี ท้องคลองตื้น และทำให้พร่องน้ำได้ไม่เต็มที่ จึงต้องลอกคลองให้กินน้ำได้ลึกขึ้นโดยต้องทำไปด้วยกันคือการทำเขื่อนป้องกันดินสไลด์และเร่งขุดลอก

โดยเฉพาะบริเวณหน้าประตูระบายน้ำอาจจะให้ลูก 5 เมตร เพื่อให้เป็นแก้มลิงหน้าสถานีทำให้การดูดง่ายขึ้น ฉะนั้นการปรรับปรุงประสิทธิภาพคลองต้องเร่งทำซึ่งใช้งบไม่มากเหมือนอุโมงค์ระบายน้ำ

นายชัชชาติ กล่าวว่า สถานีสูบน้ำคลองบางซื่อมีปั๊มน้ำ 17 ตัว สูบน้ำตัวละ 3 ลบ.ม.ต่อวินาที อุโมงค์บางซื่อสูบน้ำ 60 ลบ.ม.ต่อวินาที ปั๊มน้ำจาก 17 ตัว เพิ่งเปลี่ยนตัวใหม่ไป 5 ตัว ที่เหลือใช้งานมาแล้ว 15 ปี ซึ่งประสิทธิภาพลดน้อยลง

รวมถึงประสิทธิภาพของคลองด้วยซึ่งอยู่ในแผนงบประมาณปี 2566 ส่วนงบ 2565 เง้นเหลือก็จะเร่งทำให้ดีขึ้น การสร้างอุโมงค์เป็นเรื่องระยะยาวและที่ไม่ได้ใช้ก็ชะลอไปก่อนแต่มาปรับประสิทธิภาพของคลองให้ดี จากนั้นไปแก้เส้นเลือดฝอย เช่น ลอกท่อให้นำน้ำลงมาคลองให้ได้

นอกจากนี้ การเปลี่ยนปั้มน้ำราคาตัวละ 4 ล้านบาท ถ้าปรับประสิทธิภาของปั้มน้ำรคาไม่ได้แพลงเมื่อเทียบกับอุโมงค์ที่ลงทุนหลักพันล้านบาท ดังนั้นต้องไล่ทุกจุดให้ปั๊มทำงานได้ดี เช่น ระบบส่งไฟถ้าไฟดับจะเป็นอัมพาต จึงต้องดูเรื่องระบบไฟ นอกจากนั้นคลองบางซื่อเก็บขยะได้ถึงวันละ 3 ตัน ส่วนที่พระราม 9 พบวันละ 5 ตัน

“เครื่องสูบน้ำมี 733 ตัว ชำรุด 22 ตัว เครื่องเก็บขยะอัตโนมัติ 263 ตัว ชำรุด 63 ตัว ประตูระบายน้ำ 523 ประตู ชำรุด 14 ประตู ซึ่งโดยรวมแม้ยังใช้งานได้อยู่ แต่มีปัญหาที่ต้องปรับปรุง แต่ใช้งบไม่เยอะซึ่งไปดูว่างบปีนี้เหลือไหมหรือไปแปรญัตติงบปี 2566 และปี 2567 ก็ต้องทำ แต่ต้องทำให้สมดุลกันระหว่างคลองกับอุโมงค์”

Related posts

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

‘โคคา-โคล่า’ ยืนหนึ่งก่อมลพิษพลาสติก
สัดส่วน 11% สูงที่สุดในโลก

ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ กินพื้นที่กว่า 54% ของแนวปะการังทั้งหมด