แปรรูปตัวอ่อนแมลงวันลายเป็นอาหารสัตว์ ช่วยลดมลพิษ ลดโลกร้อน

ตัวอ่อนแมลงวันลายที่อุดมด้วยโปรตีนจะถูกนำไปตากแห้งและแปรรูปเป็นอาหาร ปลา ไก่ และหมู และขายในราคากิโลกรัมละ 70 รูปีเนปาล หรือประมาณ 18 บาท

ฟาร์มแมลงวันลายแห่งนี้ตั้งอยู่ในบาร์เดฟ หมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 2,500 คน ห่างจากกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาลประมาณ 30 กิโลเมตร โดยเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารสตรี ประเทศฟินแลนด์ที่ต้องการสร้างอาชีพให้กับผู้หญิงในเนปาล


แมลงวันลาย (Black Solider Fly) พบได้ทั่วไปในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน มีลักษณะคล้ายตัวต่อ มีการศึกษาพบว่าในระยะดักแด้ของแมลงวันลายมีโปรตีนสูงถึง 42% ไขมัน 35% และกรดอะมิโน
ไข่แมลงวันลายที่อุดมด้วยโปรตีนจะถูกนำไปตากแห้งและแปรรูปเป็นอาหาร ปลา ไก่ และหมู และขายในราคากิโลกรัมละ 70 รูปีเนปาล หรือประมาณ 18 บาท


เนปาลเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยกลุ่มว่างงานและขาดแหล่งได้มากที่สุดคือกลุ่มผู้หญิง ดังนั้นเงินที่ได้จากการแปรรูปตัวอ่อนของแมลงวันจึงถือเป็นความก้าวหน้าอย่างหนึ่งของผู้หญิงในหมู่บ้าน
อาหารสัตว์จากตัวอ่อนแมลงวันถือเป็นตัวเลือกใหม่ที่ไม่ก่อมลพิษ เนื่องจากในกลุ่มอาหารสัตว์เดิมนิยมใช้ข้าวโพด ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหนึ่งในต้นเหตุมลพิษอากาศของหลายประเทศ
ในขณะเดียวกันแอฟริกาตะวันตกมีการเพาะเลี้ยงแมลงวันลายเพื่อช่วยจัดการขยะเศษอาหาร โดยเฉพาะในตลาดผักและผลไม้
ที่มา
Aug 23, 2023. Fly larvae breeds success for women in Nepal village. Reuters
Feb, 2022. Black Soldier Fly addresses biowaste and mitigates climate change. Norad

Related posts

ความหวังจาก ‘คาร์บอนเครดิต’หนึ่งในอาวุธ สู้วิกฤตโลกรวน

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

ถ้าบริหารจัดการน้ำเหมือนปี 54วิกฤตอุทกภัยอาจเลวร้ายยิ่งกว่า