โลกร้อนทำให้การนอนหลับลดลง เฉลี่ยประมาณ 15 นาทีต่อคืน คนจะซื้อเครื่องปรับอากาศมากขึ้น

ล่าสุดมีงานวิจัยเรื่อง “อุณหภูมิที่สูงขึ้นบ่อนทำลายการนอนหลับของมนุษย์ทั่วโลก” ที่ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกมีการเพิ่มขึ้นสูงสุดในเวลากลางคืน ทำให้ความถี่ของการนอนหลับไม่เพียงพอเพิ่มขึ้นในประชากรหลายกลุ่ม 

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่า อุณหภูมิที่ร้อนกว่าค่าเฉลี่ยได้ส่งผลต่อการวัดการนอนหลับของคนทั่วโลกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ มันมีความเชื่อมโยงระหว่างโลกที่ร้อนขึ้นกับการนอนที่ไม่เต็มอิ่มของคนหลาย ๆ คน และมันกำลังเกิดขึ้นแล้วจากปากคำของนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการวิจัย

นักวิจัยพบว่า ผู้คนนอนหลับมากที่สุดเมื่ออุณหภูมิภายนอกต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส หากเหนือเกณฑ์นั้น โอกาสในการนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงของพวกเขาเพิ่มขึ้นมาก

เมื่ออุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียสการสูญเสียเวลานอนก็เร่งขึ้น เมื่ออุณหภูมิกลางแจ้งในตอนกลางคืนสูงถึง 30 องศาเซลเซียส ผู้คนมักจะสูญเสียเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 15 นาทีต่อคืน

รายงานเตือนว่า ภายในปี 2099 อุณหภูมิที่สูงเกือบจะถึงระดับที่สุดจะบ่อนทำลายเวลานอนหลับ 50–58 ชั่วโมงต่อคนต่อปี หรือจะทำให้เรามีวันนอนไม่พอเพิ่มขึ้นอีก 13 ถึง 15 วันในแต่ละปีภายในสิ้นศตวรรษ

เอาแค่ตอนนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ได้ทำให้โลกร้อนขึ้นประมาณ 1.1 องศาเซลเซียสตั้งแต่ช่วงปี 1800 และมันกำลังจะข้ามเส้นตายร้อนเพิ่มขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ดีไม่ดีอาจจะสูงกกว่านั้น 

เรามักคิดว่าความเย็นในตอนกลางคืนจะเป็นตัวช่วยหนีความร้อนกลางวัน ซึ่งมันไม่จริง เพราะเวลากลางคืนร้อนมากกว่ากลางวัน ในสหรัฐอเมริกา กลางคืนในฤดูร้อนอบอุ่นขึ้นสองเท่าของวันในฤดูร้อน และมันเกิดขึ้นในทุกส่วนของโลก

วิธีแก้เฉพาะหน้าที่ง่ายที่สุดคือ ครัวเรือนทั่วโลกจะซื้อเครื่องปรับอากาศมากขึ้น ซึ่งเท่ากับจะมีการใช้พลังงานขนานใหญ่ และทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ของภาวะโลกร้อนหนักขึ้นไปอีก

ยังไม่นับครัวเรือนที่ยากจนนับพันล้านครัวเรือนที่ไม่มีความสมารถในการซื้อเครื่องปรับอากาศมาใช้ การวิจัยในสหรัฐอเมริกายังพบว่า ครอบครัวรายได้น้อยที่มีแอร์จะรอให้ร้อนหนัก ๆ ก่อนจึงค่อยใช้มัน ซึ่งน่าจะเกี่ยวกับเรื่องรายได้ด้วย

ข้อมูลจาก

  • “Rising temperatures erode human sleep globally” Kelton Minor, Andreas Bjerre-Nielsen, Sigga Svala Jonasdottir, Sune Lehmann, Nick Obradovich. One Earth  VOLUME 5, ISSUE 5, P534-549, MAY 20, 2022. DOI:https://doi.org/10.1016/j.oneear.2022.04.008
  • Alejandra Borunda. (MAY 25, 2022). “Climate change is eroding a precious resource: sleep”. National Geographic. 

ภาพ Diego Delso – wikipedia.org

Related posts

ความหวังจาก ‘คาร์บอนเครดิต’หนึ่งในอาวุธ สู้วิกฤตโลกรวน

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

ถ้าบริหารจัดการน้ำเหมือนปี 54วิกฤตอุทกภัยอาจเลวร้ายยิ่งกว่า