ผู้เชี่ยวชาญเตือนวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เสี่ยงโรคปอดเรื้อรัง

ผู้เชี่ยวชาญระบุ วิกฤตสภาพภูมิอากาศก่อให้เกิดความเสี่ยงสูงสุดต่อผู้ที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากอุณหภูมิสูงและรูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพปอดรุนแรงขึ้น

ศาสตราจารย์โซรานา โจวาโนวิช แอนเดอร์เซน ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนและผู้เขียนรายงานระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสุขภาพของทุกคน แต่เป็นไปได้สูงที่ผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวจะไวต่อสภาพอากาศ และอาจส่งผลให้ อาการของพวกเขาจะแย่ลงถึงแก่ชีวิตได้

การเพิ่มขึ้นของละอองเกสรดอกไม้ สารก่อภูมิแพ้อื่นๆ รวมถึงมลพิษจากไฟป่า พายุฝุ่น และการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลจากการจราจร ล้วนทำให้สภาพระบบทางเดินหายใจแย่ลงหรืออาจสร้างผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจรายใหม่ขึ้นได้

นอกจากผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจแล้ว เด็กถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อผลกระทบวิกฤตสภาพภูมิอากาศและมลพิษอากาศ เนื่องจากปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่ เวลาหายใจจะหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ทำให้สูดอากาศเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่สองถึงสามเท่าในขณะที่ใช้เวลาอยู่กลางแจ้ง และการสัมผัสมลพิษทางอากาศตั้งแต่เด็ก เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือหลอดลมอักเสบ  ในภายหลัง

ศาสตราจารย์โซรานา ยังระบุเพิ่มว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการหยุดไม่ให้โลกร้อนขึ้นจะนำไปสู่ ​ผลประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้คนที่สามารถเห็นได้ชัดในทันทีใดนั้น เนื่องจากสภาพอากาศสะอาดขึ้น

ในปี 2562 มลพิษอากาศคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 6.7 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในยุโรป 373,000 ราย

จากรายงานดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า กระทบของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศและสุขภาพของมนุษย์มีความเชื่อมโยงกัน ในบทบรรณาธิการของ European Respiratory Journal ที่ตีพิมพ์ดการศึกษาชิ้นนี้ ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปปรับกฎระเบียบด้านมลพิษอากาศ โดยเฉพาะค่า PM2.5 จากเดิมคือ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์ ให้เท่ากับ องค์การอนามัยโลกจำกัด (WHO) ที่ 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

“เราจำเป็นต้องทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย”

ที่มา

Sep, 04,2023. Climate crisis poses greatest risk to people with respiratory illnesses, experts warn. The Guardian

Related posts

‘โคคา-โคล่า’ ยืนหนึ่งก่อมลพิษพลาสติก
สัดส่วน 11% สูงที่สุดในโลก

ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ กินพื้นที่กว่า 54% ของแนวปะการังทั้งหมด

โลกร้อนทำป่วน ไข่เต่ามะเฟืองรังแรกของปี ไร้ลูกเต่าเกิดแม้แต่ตัวเดียว