‘เอลนีโญ’ ส่งผลให้ฝนตกน้อย ภาคเกษตรส่อเจ๊ง 4.8 หมื่นล้าน

ในเดือน ส.ค. 2566 ปริมาณฝนยังคงตกสะสมต่ำกว่าค่าปกติเล็กน้อยไปจนถึงเดือน ก.ย. 2566 ปริมาณถึงจะใกล้เคียงค่าปกติ และเริ่มตกมากขึ้นในเดือน ต.ค. แต่ในเดือน พ.ย. ปริมาณฝนจะตกน้อยกว่าค่าปกติลงถึง 34%

นายบุญสม ชลพิทักษ์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) อธิยายว่า หลังสิ้นสุดฤดูฝนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ ณ วันที่ 1 พ.ย. 2566 จะมีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ 35,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) น้อยกว่าช่วงเดียวกันปี 2565 ประมาณ 9,800 ล้าน ลบ.ม.
.
หากมีพายุพาดผ่านประเทศไทย 1-2 ลูก ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ไว้ จะทำให้มีน้ำท่าไหลเข้าเขื่อนมากขึ้น แต่ผลจากเอลนีโญที่จะเกิดภัยแล้งชัดเจนมากขึ้น คาดการณ์ว่าตั้งแต่ในเดือน ต.ค. 2566 ปริมาณน้ำในเขื่อนและน้ำฝนที่อาจลดลง ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำทั้งประเทศจะอยู่ในเกณฑ์น้อยที่ร้อยละ 50
.
พื้นที่ที่น่าห่วงคือ ภาคกลางที่มีปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำเพียงร้อยละ 19 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤต รวมไปถึงพื้นที่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย คือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งน่าเป็นห่วงเช่นกัน
.
ในทางกลับกัน ในช่วงปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนส.ค.- ต.ค. 2566 ก็อาจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นและตกหนักในหลายพื้นที่ จนอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ได้
.
สำหรับในระยะยาวจากปีนี้ต่อเนื่องไปถึงปี 2567 มีแนวโน้มสูงที่ปริมาณน้ำต้นทุนจะอยู่ในสถานการณ์น้ำน้อย ทุกหน่วยงานด้านน้ำต้องร่วมกับ กอนช. กำหนดแผนการบริหารจัดการน้ำล่วงหน้า 2 ปี และออกมาตรการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน
.
ยกตัวอย่างเช่น งดการทำนาปรัง รณรงค์ปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยออกมาตรการชดเชยต่างๆ ให้เกษตกร เป็นต้น รวมถึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด พร้อมปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) โดยให้เก็บกักน้ำในระดับเกณฑ์เก็บกักน้ำดับสูงสุด (Upper Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่ง ฯลฯ
.
ในการรับมือปัญหาดังกล่าวนี้ ปัจจุบันกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ใช้เทคโนโลยีฝน One Map ใช้คาดการณ์สภาพภูมิอากาศ พยากรณ์น้ำฝน น้ำท่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่เสี่ยงภัย ในระยะตั้งแต่ 3 วัน 7 วัน และ 6 เดือน ซึ่งมีความแม่นยำค่อนข้างสูงประมาณ 80% ทำให้สามารถวางแผนรับมือสถานการณ์และเตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
.
สำหรับแนวโน้มสถานการ์เอลนีโญนั้นล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค. 2566 องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NOAA) ได้พยากรณ์ว่า โอกาสเกิดเอลนีโญมีเพิ่มขึ้น และยกระดับการเตือนภัยเป็น El Niño Advisory แล้ว
และมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดเอลนีโญทะลุร้อยละ 90 ส่งผลกระทบลากยาวไปอย่างน้อยถึงเดือน มี.ค.2567
.
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า เอลนีโญที่จะเกิดในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 อาจสร้างความเสียหายต่อพืชเกษตรสำคัญของไทย ประกอบด้วย ข้าวนาปี มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ รวมคิดเป็นมูลค่าความเสียหายในปี 2566 อยู่ที่ราว 48,000 ล้านบาท เฉพาะข้าวเป็นพืชที่เสียหายหลักอยู่ที่ 37,631 ล้านบาท หรือเกือบร้อยละ 80 ของความเสียหายภาคเกษตรทั้งหมด

Related posts

ความหวังจาก ‘คาร์บอนเครดิต’หนึ่งในอาวุธ สู้วิกฤตโลกรวน

ภาวะโลกร้อนเขย่าวิกฤตอาหารโลก ผลผลิตลด คนหิวโหย อันตรายถึงชีวิต

ถ้าบริหารจัดการน้ำเหมือนปี 54วิกฤตอุทกภัยอาจเลวร้ายยิ่งกว่า