ญี่ปุ่นเดินหน้าปล่อยน้ำเสียกัมมันตภาพรังสีลงทะเล ย้ำปลอดภัย

ญี่ปุ่นเริ่มตรวจสอบขั้นสุดท้ายก่อนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาหน่วยงานกำกับดูแลของญี่ปุ่นเริ่มเข้าตรวจสอบอุปกรณ์ที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่ผ่านการบำบัดจากโรงงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะที่เสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวในปี 2554 แล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก แม้แผนปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสียังคงสร้างความกังวลด้านความปลอดภัยให้กับทั้งคนในและนอกประเทศญี่ปุ่น

หากทุกอย่างเป็นไปด้วยดีภายใน 1 สัปดาห์หลังตรวจสอบเสร็จ บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ หรือเท็ปโก ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ จะได้รับใบอนุญาตด้านความปลอดภัยให้ปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งคาดว่าการปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะเริ่มขึ้นในฤดูร้อนนี้ แม้ว่าจะยังไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนก็ตาม

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 9.0 และคลื่นยักษ์สึนามิสูง 10 เมตรเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ทำให้เตาปฏิกรณ์ 3 เครื่องในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะไดอิจิ ในจังหวัดฟูกูชิมะ ได้รับความเสียหายอย่างหนักจนเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีส่งผลให้ประชากรกว่า 200,000 คนต้องอพยพออจากบริเวณที่เกิดเหตุ

ในปี 2560 บริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ หรือเท็ปโก ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิได้ส่งหุ่นยนต์เข้าสำรวจความเสียหายเพื่อประเมินความเสียหาย และจัดวางกระบวนการกำจัดสารกัมมันตภาพรังสี ผ่านการบำบัดแบบเจือจางด้วยน้ำทะเลปริมาณมาก ก่อนนำน้ำที่บำบัดแล้วเข้าสู่อุโมงค์ใต้ทะเลและปล่อยลงสู่มหาสมุทรห่างจากชายฝั่งประมาณ 1 กิโลเมตร

อุโมงค์ใต้ทะเลและสิ่งอำนวยความสะดวกหลักอื่นๆ ใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว TEPCO กล่าวว่าการทดสอบโดยสมัครใจคาดว่าจะดำเนินต่อไปประมาณสองสัปดาห์ก่อนการตรวจสอบก่อนการปฏิบัติงานที่จำเป็นซึ่งจะดำเนินการโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านนิวเคลียร์ซึ่งอาจเป็นไปได้ในต้นเดือนกรกฎาคม

ในเดือนเมษายน 2564 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแผนการทยอยปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่ทะเล ถึงแม้จะยังมีสารกัมมันตภาพรังสีอยู่ แต่ก็เล็กน้อยและอยู่ในระดับปลอดภัยกว่ามาตรฐานสากล โดยทางการญี่ปุ่นระบุว่าถึงเวลาที่ต้องปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงสู่ทะเล เนื่องจำมีน้ำที่บำบัดแล้วเก็บไว้ในแท็งก์ประมาณหนึ่งพันแท็งก์ เพื่อป้องกันการรั่วไหลหากเกิดกรณีแผ่นดินไหวอีก และเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับการรื้อถอนโรงงาน

แผนดังกล่าวต้องเผชิญกับการประท้วงอย่างดุเดือดจากชุมชนประมงท้องถิ่นที่กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเสียหายต่อชื่อเสียง รวมถึงประเทศใกล้เคียง เช่น เกาหลีใต้ จีน และประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ก็แสดงความกังวลด้านความปลอดภัยเช่นกัน

รัฐบาลญี่ปุ่นที่ขอการสนับสนุนจากทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศเพื่อให้ได้รับความน่าเชื่อถือและรับรองว่ามาตรการด้านความปลอดภัยเป็นไปตามมาตรฐานสากล ยืนยันว่าน้ำจะได้รับการบำบัดในระดับที่สามารถปล่อยออกได้ตามกฎหมายและเจือจางได้ด้วยน้ำทะเลจำนวนมาก และจะเป็นการทยอยปล่อยลงสู่มหาสมุทรผ่านอุโมงค์ใต้ทะเล ซึ่งอาจกินเวลานานหลายสิบปี โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้คนและสิ่งมีชีวิตในทะเล

อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าที่ผ่านมายังไม่เคยมีงานวิจัยถึงผลกระทบของการได้รับสารกัมมันตรังสีปริมาณต่ำในระยะยาว ดังนั้นการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีควรชะลอออกไป

ที่มา

  • Jan 13,2023. Fukushima nuclear disaster: Japan to release radioactive water into sea this year. BBC
  • June 26, 2023. Fukushima nuclear plant operator says equipment to release treated wastewater into sea is complete. APNews
  • April 26, 2023. Fukushima’s fishing industry survived a nuclear disaster. 12 years on, it fears Tokyo’s next move may finish it off. CNN
  • June 27, 2023.As Japan prepares to release Fukushima wastewater, anxiety grows across South Korea. NPR

Related posts

‘โรคแอนแทร็กซ์’ ระบาดไทย ผวาซ้ำ หลังพบวัวตายปริศนา

ปี 2025 สัญญาณอันตราย
อุณหภูมิโลกจ่อทำลายสถิติเก่า

‘ลากไส้หมูเถื่อน’ ทลายโกดังลอบเก็บ มูลค่ากว่า 10 ล้าน เสี่ยงสารเคมี