32 ประเทศงัดกฎหมาย ยื่นหักล้างข้อกล่าวหาต่อศาล

เมื่อวันพุธที่ผ่านมาเยาวชนทั้ง 6 คน ได้เผชิญหน้ากับทีมกฎหมายจาก 32 ประเทศ ในศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป หลังยื่นฟ้องกลุ่มประเทศดังกล่าวล้มเหลวในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของผู้เรียกร้อง 

เยาวชนทั้ง 6 คนมีอายุระหว่าง 11 ถึง 24 ปี และทั้งหมดมาจากโปรตุเกส ได้ยื่นฟ้องดำเนินคดี 27 ประเทศในสหภาพยุโรป รวมถึงนอร์เวย์ รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี และสหราชอาณาจักร ในเดือนกันยายน 2020 ด้วยข้อหาล้มเหลวการจัดการกับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากมนุษย์อย่างเพียงพอ ทำให้เกิดการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานบางประการของโจทก์ และขอให้ศาลบังคับให้ประเทศเหล่านี้เร่งดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงบังคับให้บริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ภายในขอบเขตของกลุ่มประเทศดังกล่าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วทั้งอุปทานทั้งหมดของห่วงโซ่

คดีนี้เกี่ยวข้องกับมาตรา 2, 3, 18 และ 14 ตามอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบหรือสุขภาพของมนุษย์”

คาทารินา โมตา หนึ่งในกลุ่มเยาวชนผู้เรียกร้องให้สัมภาษณ์ CNN ระบุว่าจุดเริ่มของการฟ้องร้องเกิดจากไฟป่าที่เกิดขึ้นที่โปรตุเกสในปี 2017 ลุกลามไปกว่า 125,000 ไร่ และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 100 คนในปีนั้น ขณะที่ไฟลุกลามไปยังที่ที่คาทารินาอาศัยอยู่ โรงเรียนของเธอและคนอื่นๆ ในพื้นที่ก็ถูกปิด ควันมีอยู่ทุกที่

แม้ว่าคำกล่าวอ้างนี้เกิดจากเหตุไฟป่า แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลื่นความร้อนที่รุนแรงซึ่งโปรตุเกสต้องเผชิญอยู่เป็นประจำ ของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อนและไฟป่า กระทบต่อชีวิตและสุขภาพของโจทก์ ถือเป็นคดีด้านสภาพภูมิอากาศคดีแรกที่ยื่นต่อศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป และเป็นคดีที่ใหญ่ที่สุดในคดีด้านสภาพอากาศ 3 คดีที่ศาลกำลังพิจารณาอยู่

ก่อนพิจารณาคดี ทุกประเทศได้ยื่นเพิกถอนข้อกล่าวหา และทีมกฎหมายประจำสหราชอาณาจักรยังเสริมอีกว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวอยู่นอกขอบเขตอำนาจศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป โดยเชื่อมั่นว่ารัฐบาลประเทศต่างๆ เข้าใจถึงภัยคุกคามของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมุ่งมั่นที่จะร่วมกันจัดการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทีมกฎหมายของโปรตุเกสยื่นหลักฐานต่อศาลแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่โจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานที่ประจักษ์ได้ถึงผลกระทบโดยตรงต่อพวกเขา

ทีมกฎหมายของกรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่เพิ่งเผชิญกับความร้อน ไฟป่าและพายุในฤดูร้อนที่ผ่านมา ตอบโต้ว่า “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังที่บันทึกไว้จนถึงขณะนี้ ดูเหมือนจะไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์

กลุ่มเยาวชนกล่าวว่าช่วงเวลาเหล่านี้ทำให้ยากต่อการออกไปข้างนอก ยากต่อการมีสมาธิกับการเรียน การนอนหลับ และสำหรับบางคนก็ยากแม้กระทั่งหายใจ นอกเหนือจากนี้ผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพวกเขาอีกด้วย

คลอเดีย อากอสตินโญ ปัจจุบันอายุ  24 ปี กล่าวว่าเธอคงรู้สึกหวาดกลัวเหตุเพลิงไหม้ในปี 2017 และยังคงรู้สึกอยู่ ในขณะที่มาเรียน่าน้องสาววัย 11 ปี จะรู้สึกหวาดกลัวเมื่อได้ยินเสียงเฮลิคอปเตอร์ เพราะมันทำให้เธอนึกถึงเหตุการณ์ไฟป่าที่เลวร้ายครั้งนั้น

สำหรับคดีนี้คาดว่าศาลจะมีการพิจารณาคดีในครึ่งปีของปี 2024 ซึ่งศาลอาจยกฟ้อง หรือตัดสินว่าไม่มีอำนาจพิจารณาคดี หากเป็นเช่นนั้นจะเท่ากับยอมรับว่ารัฐ (State) ไม่มีพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

“นั่นอาจสร้างความเสียหายอย่างมากต่อกรณีอื่นๆ ที่คล้ายกัน” ไมเคิล บี. เจอร์ราร์ด ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายซาบินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แห่งโรงเรียนกฎหมายโคลัมเบีย กล่าวกับ CNN

หรือถ้าศาลตัดสินเห็นชอบตามโจทก์เรียกร้อง คำตัดสินจะทำหน้าที่เหมือนสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย และบังคับให้ทั้ง 32 ประเทศเร่งดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ

นี่อาจเป็นการตัดสินใจที่สำคัญยิ่ง ที่จะผลักดันให้เกิดการเรียกร้องในกรณีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วยุโรป และบางทีอาจจะเป็นภูมิภาคอื่นๆ อีกมาก” เจอร์ราร์ดกล่าว

อ่านที่มา: เยาวชนฟ้องศาลยุโรป 32 ประเทศเบี้ยวลดปล่อยก๊าซตามเป้าหมาย

ที่มา

  • Sept 27, 2023. ‘Truly a David and Goliath case’: Six young people take 32 countries to court in unprecedented case. CNN
  • Sept 27, 2023. Girl, 11, among six young people taking on 32 nations in historic climate case. The Guardian
  • Sept 27, 2023. In a Landmark Case, 6 Young Climate Activists Take on 32 European Countries. Time
  • Sept 27, 2023. Six young people suing 32 countries in ‘unprecedented’ climate action lawsuit. Independent

Related posts

‘แผ่นดินไหวญี่ปุ่น’ กว่า 1,000 ครั้ง ทางการสั่งอพยพ ไทยแจ้งเตือนฉุกเฉิน

สติทำให้เห็น ‘ความปวด’ แต่ไม่เป็น ‘ผู้ปวด’

ฆาตกรเงียบ UN เตือนภัย ‘คลื่นความร้อน’ ถี่ขึ้น เตรียมรับมือ