‘พลูด่าง’ ตัดแต่งพันธุกรรม ฟอกอากาศเทียบเท่าต้นไม้ 30 ต้น

by Admin

คนส่วนใหญ่คิดว่ามลพิษอากาศเป็นสิ่งที่มาจากภายนอก เช่น โรงงาน สถานก่อสร้าง หรือท่อไอเสียยนต์ แต่ในความเป็นจริงแล้วอากาศภายในบ้านหรือในที่ทำงานก็มีโอกาสเป็นเป็นมลพิษได้เช่นกัน ซึ่งมลพิษอากาศภายในอาคารอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมากกว่ามลพิษทางอากาศภายนอกอาคารด้วยซ้ำ

มลพิษอากาศภายในอาคารมาในรูปของสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds : VOCs) ซึ่งในชีวิตประจำวันเราได้รับสารชนิดนี้จากผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น สีทาบ้าน น้ำยาทำความสะอาด สารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ สีย้อมผ้า หรือแม้แต่เชื้อราบนผนัง หรือเพดานห้อง

เมื่อสาร VOCs ถูกปล่อยสู่อากาศ จะส่งผลกระทบต่อต่อสุขภาพในระยะสั้น เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และในระยะยาวอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึงโรคหอบหืด และอาการแพ้ต่างๆ 

ซึ่งในปัจจุบันมีเพียงเครื่องฟอกอากาศ หรือเครื่องปรับอากาศบางชนิดที่ใช้แผ่นกรองอากาศ HEPA (High Efficiency Particulate Air Filter) สามารถกรองสารในกลุ่ม VOCs เช่น เชื้อรา ไรฝุ่นและควันบุหรี่ออกไปได้

อาจดูเหมือนมลพิษอากาศภายในอาคารเป็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ แต่มีวิธีลดระดับมลพิษลงได้ หนึ่งในวิธีหลักคือการระบายอากาศ หรือปลูกพืชในร่ม เช่น พลูด่าง ลิ้นมังกร เดหลี เป็นต้น

ล่าสุดบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพในฝรั่งเศส Neoplants ได้นำพลูด่าง พืชในร่มยอดนิยมมาเพิ่มยีน 2-3ตัว และดัดแปลงพันธุกรรมภายใต้ชื่อใหม่ Neo P1 ให้มีคุณสมบัติฟอกอากาศและดักจับ VOCs ที่เป็นพิษมากที่สุด 4 ชนิด ได้แก่ ฟอร์มาลดีไฮด์ เบนซีน โทลูอีน และไซลีน ซึ่งบริษัทระบุว่า Neo P1 หนึ่งต้นสามารถฟอกอากาศได้เทียบเท่าพืชในร่มทั่วไปถึง 30 ต้น

Neo P1 มาพร้อมกระถางและดินที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานโดยเฉพาะ รองรับสภาพแวดล้อมที่มีแสงน้อย รดน้ำบ่อย 2-3 สัปดาห์ครั้ง และเติม Power Drops ซึ่งเป็นปุ๋ยจุลินทรีย์เฉพาะเดือนละครั้งเพื่อรักษาประสิทธิภาพในการฟอกอากาศของพืชให้มีศักยภาพสูงสุด

ปัจจุบันในหน้าเว็บไซต์เปิดให้จอง Neo P1 พร้อมปุ๋ยที่ใช้งาน 3 เดือนอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาท (179 ดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา

  • neoplants.com
  • January 18, 2023. Bioengineered “superplant” could soon be purifying the air in your home. New Atlas
  • Jul 6,2022. Indoor air pollution: What causes it and how to tackle it. World Economic Forum
  • บทความวิจัยสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds). คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Copyright @2021 – All Right Reserved.