News Update

  • หนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็คือ การลดคาร์บอนฟุตพรินท์ (Carbon Footprint) หรือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ การคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์จะทำให้เราสามารถประเมินได้ว่า กิจกรรมใดส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตรงจุด (1) ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับ “ยุคภาวะโลกเดือด” (Global Boiling) ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะ CO₂ ที่มาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า หากไม่ลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้อุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น …

  •     22 มีนาคม “วันน้ำโลก” (World Water Day) ร่วมใจอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเพื่ออนาคต เมื่อข้อมูลระบุว่า หากไม่มีการจัดการที่ดี ภายในปี 2030 โลกอาจเผชิญกับวิกฤตน้ำขาดแคลนถึง 40%     วันน้ำโลก (World Water Day) ตรงกับวันที่ 22 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ (UN) เพื่อรณรงค์ให้ประชากรทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของน้ำ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ …

  •     กระทรวงอุตสาหกรรม เดือด สั่งสอบ บริษัท หัวจง จ.สมุทรสาคร ลักลอบปล่อยน้ำเสียออกนอกโรงงาน พร้อมพบความเชื่อมโยงการลักลอบนำเข้าฝุ่นแดง   นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า หลังจากได้รับรายงานเกี่ยวกับขบวนการลักลอบนำเข้า “ฝุ่นแดง” ซึ่งเป็นวัตถุอันตราย เพื่อใช้ในกระบวนการหลอมและส่งออกไปยังต่างประเทศ ทางกระทรวงฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างเร่งด่วน โดยฝุ่นแดงถูกจัดอยู่ในประเภทวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามบัญชี 5.2 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 …

  • ความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดเพิ่มขึ้นมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับ 20 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศในโลกต้องเร่งดำเนินการตั้งเป้าหมายและเริ่มกระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ “เศรษฐกิจสีเขียว” เพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติที่มีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สามารถรับมือได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว (1) ไทยเองไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในโลก โดยเฉพาะภัยพิบัติทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ และความมั่นคงด้านอาหาร ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านสีเขียว (Green Transition) จึงเป็นกลไกสำคัญที่ไทยได้นำมาใช้จัดการกับปัญหาเหล่านี้ พร้อมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ตอบโจทย์อนาคตที่ยั่งยืน (1) ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา หลายประเทศที่มีความก้าวหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น สวีเดนที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 52% เดนมาร์ก 38% และสหราชอาณาจักร 33% …

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห่วงประชากร “พะยูน” หลังพบถูกเลาะเขี้ยว 2 ข้าง สร้างความสะเทือนใจ มอบหมายกรมทรัพย์ฯ-กรมอุทยานฯ ผนึกกำลังเครือข่าย สืบสวนหาผู้กระทำผิด จากเหตุการณ์ที่พบ “พะยูน” เกยตื้นบริเวณอ่าวโล๊ะใหญ่ จังหวัดกระบี่ และถูกตัดเขี้ยวทั้งสองข้างหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ …

  • ประเทศไทยมีความท้ายกับการเสนอยกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกให้สูงขึ้นที่ระดับ 40 – 60% เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ให้สำเร็จ

Copyright @2021 – All Right Reserved.