‘เอปสัน’ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
มุ่งใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อโลกที่ดีขึ้น

by Igreen Editor

การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) ไม่ได้เป็นแค่แนวความคิดหรือหลักการสำหรับการทำแคมเปญ CSR ขององค์กรต่าง ๆ อีกต่อไป ทว่าองค์กรธุรกิจทั่วโลกได้ตื่นตัวมากขึ้นในการนำธุรกิจ สินค้าและบริการเชื่อมต่อกับคุณค่าการพัฒนาในทิศทางนี้

บางองค์กรยกให้ความยั่งยืนเป็นหัวใจในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปในอีกหลายสิบปีจากนี้ อย่างเช่น เอปสัน (Epson) ผู้ผลิตเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์และโปรเจคเตอร์อันดับหนึ่งของโลกจากประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้สอดคล้องกับเทรนด์ความยั่งยืนโลก ตลอดจนสอดคล้องกับผู้บริโภคที่พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะคนกลุ่ม Millennial และ GenZ ที่ไม่ได้มองราคาเป็นแค่ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า แต่ยังมองถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีส่วนในการตอบแทนสังคมด้วย

เอปสัน เริ่มต้นจากโรงงานผลิตนาฬิกาข้อมือ เมื่อทศวรรษที่ 1940 ก่อนจะขยายธุรกิจไปยังเทคโนโลยี
สายอื่น ๆ และมีสำนักงานสาขากระจายอยู่ทั่วโลกในทุกวันนี้ โดยตั้งแต่แรกเริ่มบริษัทมีเป้าหมายด้าน CSR ในการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบทะเลสาบซูวะ จังหวัดนากาโน่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทให้มีความสะอาดและมีนิเวศที่สมบูรณ์ ก่อนจะเติบโตขึ้นและกลายเป็นบริษัทแรกของโลกที่ประกาศว่าจะกำจัดสารคาร์โรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC ออกจากกระบวนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเอปสันประสบความสำเร็จในปี 2536 ก่อนที่ในปี 2547 จะเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และได้ประกาศให้การสนับสนุน
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ

แม้ในปัจจุบันมีการรณรงค์ลดการใช้กระดาษเพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้ความต้องการด้านการพิมพ์ลดน้อยลง และหันไปใช้ไฟล์ดิจิทัลกันมากขึ้น แต่ในภาคธุรกิจความต้องการการพิมพ์และการใช้กระดาษยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง หน่วยงานหรือองค์กรต่างมองหาโซลูชั่นที่สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่เหมาะสม

ในฐานะเอปสันเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับโลก จึงได้นำหลักความยั่งยืนมาใช้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนงานด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต ตลอดไปจนถึงขั้นตอนบรรจุห่อและโลจิสติกส์ เพื่อรับประกันว่า นวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นจะมีส่วนส่งเสริมสภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น

ล่าสุด เอปสันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดตัวแคมเปญ “Be Cool” เพื่อสื่อสารถึงงานพิมพ์ที่ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยนำเสนอโซลูชั่นการพิมพ์งานภายในองค์กรผ่านเทคโนโลยี Heat-Free ซึ่งเป็นกระบวนการพิมพ์ที่ไม่ใช้ความร้อน ช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์ทั่วไปถึง 85% ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 85% และเนื่องจากไม่มีการใช้ความร้อน ทำให้มีชิ้นส่วนหรืออะไหล่ภายในตัวเครื่องที่น้อยกว่า ช่วยลดการใช้ชิ้นส่วนได้มากถึง 59% เมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์

ขณะเดียวกันเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทที่มีเทคโนโลยี Heat-Free ในกลุ่ม EcoTank ที่มีแท็งค์หมึกความจุสูง รองรับการพิมพ์ในปริมาณมาก ยังไม่ทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหมือนการใช้ตลับหมึกหรือโทนเนอร์ จึงช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมาก ในขณะที่เครื่องพิมพ์กลุ่ม WorkForce Pro และ WorkForce Enterprise สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีความเร็วการพิมพ์สูงสุดถึง 100 หน้าต่อนาที มีอุปกรณ์เสริมช่วยจัดชุดกระดาษและเย็บเล่ม เพื่อเพิ่มความสะดวกและตอบโจทย์การพิมพ์ในปริมาณมากได้ ซึ่งเอปสันมีแผนพัฒนาและนำเสนอระบบรีไซเคิลกระดาษแบบแห้ง หรือที่เรียกว่า Epson PaperLab ให้กับทุกสำนักงาน โดยจะใช้เทคโนโลยีที่สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้วมาย่อยสลายและขึ้นรูปให้กลับมาเป็นกระดาษใหม่ได้ ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

Epson WorkForce

นอกเหนือจากการสนับสนุนความยั่งยืนผ่านกิจกรรม CSR ตามเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติแล้ว สำนักงานสาขาของเอปสันทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน การรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายของบุคลากรในที่ทำงาน การใช้ทรัพยากรที่คำนึงถึงความยั่งยืนในกระบวนการซัพพลายเชน

ตัวอย่างในประเทศไทย ล่าสุดเอปสันได้ขยายขอบเขตงาน CSR โดยให้ความสำคัญกับเรื่อง “Life on Land” ซึ่งได้ร่วมกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดกิจกรรม “Wheel for Wild” ปั่นพิทักษ์ป่าขึ้น โดยให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องพิมพ์ Heat-Free ของเอปสัน เพื่อใช้ในการพิมพ์ประกาศนียบัตรจากทางมูลนิธิฯ โดยเอปสันจะร่วมสมทบทุน 30 บาท ต่อทุก 1 ใบประกาศนียบัตรที่ถูกพิมพ์ออกมา มอบให้กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและ
พรรณพืชแห่งประเทศไทย นำไปรณรงค์ป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์และพรรณพืชหายากในประเทศไทย
ต่อไป

ทั้งนี้ ในปี 2563 ที่ผ่านมา EcoVadis บริษัทจัดอันดับองค์กรด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในแบบองค์รวม ได้ประเมินองค์กรธุรกิจมากกว่า 75,000 บริษัท จาก 200 อุตสาหกรรม ใน 160 ประเทศทั่วโลก และได้มอบเหรียญแพลตทินัมด้านความยั่งยืนให้แก่ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น เพื่อยกย่องความมุ่งมั่นของบริษัทในการพัฒนาโครงการ CSR อย่างต่อเนื่อง โดยเอปสันถูกจัดอยู่ในกลุ่มองค์กรที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งมีเพียง 1% ในอุตสาหกรรมการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง

ซิ่ว จิน เกียด

ซิ่ว จิน เกียด ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาค เอปสัน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผู้คนหันมานิยมบริโภคสินค้าจากบริษัทผู้ผลิตที่ยึดถือหลักความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ ในขณะที่หลายบริษัทในระดับโลกต่างเริ่มหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ดังนั้นการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับความยั่งยืนจึงกลายเป็นจุดเด่นขององค์กรธุรกิจที่ได้รับการยอมรับนับถือในระดับโลก”

“ในขณะที่ผู้บริโภคก็เต็มใจที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะคนกลุ่ม Millennial และ GenZ ที่ไม่ได้มองราคาเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึง
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงการมีส่วนในการตอบแทนสังคม การที่ผู้ผลิตสามารถแสดงออกถึงบทบาทของบริษัทในการรักษาสิ่งแวดล้อมถือเป็นความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันทางธุรกิจ ที่ไม่เพียงแต่จะรักษาพนักงานไว้กับองค์กร แต่ยังช่วยปกป้องบริษัทจากประเด็นสังคมต่างๆ เพิ่มความน่าเชื่อถือในสังคม ทั้งยังทำให้ผู้บริโภคนิยมซื้อสินค้าและบริการของบริษัทนั้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย” นายซิ่ว จิน เกียด กล่าว

นายซิ่ว จิน เกียด กล่าวเพิ่มเติมว่า ภารกิจของเอปสันคือการสร้างความไว้วางใจให้กับทุกภาคส่วน ด้วยการเติบโตของธุรกิจ ความสำเร็จในการดำเนินงาน และพันธกิจเพื่อการสร้างโลกที่ดีขึ้น วิสัยทัศน์สู่ความยั่งยืน
ในอนาคต คือความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ให้ความรู้กับสาธารณชน ทำงานร่วมกับเยาวชน
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และได้รับการยอมรับในระดับโลก

Copyright @2021 – All Right Reserved.