การเงินสีเขียว-การเงินสีฟ้า ลดช่องว่างการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐานอาเซียน ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน จัดการมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากขยะพลาสติกและวัสดุอื่นๆ ในแม่น้ำและมหาสมุทร

การประชุมเชิงปฏิบัติการของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ได้ระบุว่าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องส่งเสริมนวัตกรรมทางการเงิน “สีเขียว” (green finance) และ “สีฟ้า” (blue finance) เพื่อแก้ปัญหาช่องว่างทางการเงินที่เพิ่มขึ้นสำหรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในภูมิภาค

การเงินสีเขียวได้ที่ถูกนำเสนอมีเป้าหมายช่วยส่งเสริมพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ลดผลกระทบและช่วยในการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้การอนุรักษ์ธรรมชาติและการหมุนเวียนทรัพยากรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่การเงินสีฟ้าที่ยกมากล่าวถึงเป็นรูปแบบการระดมเงินทุนแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจัดการกับมลพิษที่เพิ่มขึ้นจากพลาสติกและวัสดุอื่นๆ ในแม่น้ำและมหาสมุทรในภูมิภาค 

การประชุมปฏิบัติการนี้ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) คาดว่า ความต้องการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของสมาชิกอาเซียนน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี หากพิจารณาถึงการมีส่วนร่วมในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภูมิภาคอาเซียนและต้นทุนการปรับตัวรวมเข้าด้วยกัน อาเซียนมีความจำเป็นเร่งด่วนในการกระตุ้นให้เกิดการระดมทุนจากจากภาคเอกชน เนื่องจากงบประมาณจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวคงไม่สามารถลดช่องว่างนี้ได้ 

สำหรับการประชุมครั้งนี้ กระทรวงการคลังของประเทศไทย โดยการสนับสนุนของเอดีบี ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางการจัดหานวัตกรรมทางการเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นการจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมระหว่างคณะทำงานอาเซียนด้านการเงินการคลังและคณะทำงานจากธนาคารกลาง (ASEAN Finance and Central Bank Deputies’ Working Group Meeting) ก่อนที่จะมีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM ) ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ 

อย่างไรก็ดี การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ได้รวบรวมเจ้าหน้าที่รัฐบาล  ผู้แทนภาคเอกชน  และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดหานวัตกรรมทางการเงินในภูมิภาค

 

Copyright @2021 – All Right Reserved.