Forest

ANIMAL

    ทีมวิจัย ค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้ “คาปิบารา” หลังกินอ้อย เผยศักยภาพในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ด้วยเอนไซม์ใหม่ที่ย่อยชีวมวลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการช่วยโลกพ้นวิกฤตพลังงาน ใครจะไปรู้ว่าเจ้า “คาปิบารา” สัตว์ฟันแทะขนาดใหญ่ หน้าตาสุดมึน น่ารัก และมีพฤติกรรมที่เป็นมิตร จนกลายเป็นสัตว์ที่ครองใจชาวโซเชียล จะมีส่วนช่วยโลกจากวิกฤตพลังงาน เมื่อการค้นพบเส้นทางชีวภาพจากลำไส้คาปิบารา กลายเป็นอนาคตของเชื้อเพลิงชีวภาพจากอ้อย ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตพลังงาน และการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลที่กำลังหมดลงอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความหวังใหม่จากแหล่งที่ไม่คาดคิด นั่นคือ ลำไส้ของคาปิบารา ที่พบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ การศึกษาล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เผยให้เห็นถึงเส้นทางชีวภาพที่ไม่เหมือนใคร ในระบบย่อยอาหารของคาปิบารา ซึ่งอาจปฏิวัติวงการเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแปลงชีวมวล …

    FacebookTwitterLINE
  •     “วันช้างไทย” 13 มีนาคม วันแห่งความภาคภูมิใจในสัตว์ประจำชาติที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีต แต่ปัจจุบันช้างป่าและช้างเลี้ยง เหลือเพียงไม่กี่พันตัว ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ มาร่วมเรียนรู้และหาทางรักษาช้างไทยให้คงอยู่กับเราตลอดไป     วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันช้างไทย” ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของช้าง สัตว์ประจำชาติที่มีบทบาทสำคัญ ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และระบบนิเวศของประเทศไทย ช้างไทยไม่เพียงเป็นสัญลักษณ์แห่งความแข็งแกร่ง และความสง่างาม แต่ยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตและความผูกพันของคนไทยที่มีต่อสัตว์ชนิดนี้มาอย่างยาวนาน   ที่มาของวันช้างไทย   วันช้างไทยได้รับการกำหนดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 …

    FacebookTwitterLINE
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ห่วงประชากร “พะยูน” หลังพบถูกเลาะเขี้ยว 2 ข้าง สร้างความสะเทือนใจ มอบหมายกรมทรัพย์ฯ-กรมอุทยานฯ ผนึกกำลังเครือข่าย สืบสวนหาผู้กระทำผิด จากเหตุการณ์ที่พบ “พะยูน” เกยตื้นบริเวณอ่าวโล๊ะใหญ่ จังหวัดกระบี่ และถูกตัดเขี้ยวทั้งสองข้างหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนั้น ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) แสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว และไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการร่วมพิทักษ์พะยูน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ …

    FacebookTwitterLINE
  • จุดประกายความหวังใหม่ เมื่อนักวิจัยค้นพบ บทบาทสำคัญในการฟื้นตัวของสาหร่ายทะเล มาจาก “นากทะเล” วีรบุรุษแห่งการต่อสู้กับภาวะโลกร้อนในท้องทะเล สาหร่ายทะเลมีบทบาทสำคัญทั้งในระบบนิเวศและชีวิตมนุษย์ และยังช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ลดภาวะโลกร้อน และบางชนิดใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นพลังงานทางเลือกที่ยั่งยืน แต่สาหร่ายทะเล กำลังเผชิญภัยคุกคามจากมลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการขยายตัวของสัตว์กินพืช เช่น เม่นทะเล ที่เพิ่มขึ้น นากทะเล: ผู้ฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเล และความซับซ้อนของระบบนิเวศ แต่เมื่อนากทะเลกลับคืนสู่เกาะต่างๆ ตามแนวชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนใต้ และบริติชโคลัมเบีย นักวิจัยสังเกตเห็นการฟื้นตัวของป่าสาหร่ายทะเล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกทำลายล้างโดยประชากรเม่นทะเล ที่เพิ่มขึ้นอย่างควบคุมไม่ได้ อย่างไรก็ตาม อัตราการฟื้นตัวที่แตกต่างกันระหว่างสถานที่ต่างๆ ได้จุดประกายคำถามในหมู่นักวิทยาศาสตร์ …

    FacebookTwitterLINE
  •     สำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา “ปีที่หายไป” ของ “ลูกเต่าทะเล” หลังฟักไข่แล้วหายไปไหน ด้วยการติด GPS บนกระดอง “ไม่ใช่ว่าเต่าหายไป แต่เราแค่ไม่เคยตามมันทัน”     เป็นเวลาหลายทศวรรษ ที่นักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นในช่วงหลายปีที่หายไป ระหว่างที่ลูกเต่าทะเลตัวเล็กออกจากชายหาด จนกลับมายังพื้นที่ชายฝั่งเมื่อใกล้โตเต็มวัย ซึ่งก็คือช่วงเวลาประมาณ 1 ถึง 10 ปี   นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้เครื่องติดตามดาวเทียม เพื่อคลายปมปริศนาเกี่ยวกับ “ปีที่หายไป” ในชีวิตของเต่าทะเลวัยอ่อน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เคยคลุมเครือมานาน …

    FacebookTwitterLINE
  • เปิดม่านความลับใหม่ของระบบนิเวศถ้ำในไอร์แลนด์ นักวิจัย ค้นพบ เชื้อราสายพันธุ์ใหม่ เปลี่ยนแมงมุมถ้ำให้กลายเป็นซอมบี้ อพยพสู่ที่โล่งเพื่อแพร่สปอร์ สร้างคำถามใหม่ให้วงการวิทยาศาสตร์ กับผลกระทบระบบนิเวศ ในโลกแห่งธรรมชาติที่เต็มไปด้วยความลึกลับ และความมหัศจรรย์ การค้นพบครั้งล่าสุด จากทีมนักวิทยาศาสตร์ ที่นำโดย ดร. แฮร์รี่ อีแวนส์ อดีตนักวิจัยจาก CAB International ได้เปิดเผยเรื่องราวที่น่าทึ่งเกี่ยวกับเชื้อราสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในแมงมุมถ้ำ การวิจัยนี้ เกิดขึ้นระหว่างการถ่ายทำซีรีส์ Winterwatch ของ BBC ในไอร์แลนด์เหนือ โดยความร่วมมือจากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติแห่งเดนมาร์ก ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร …

    FacebookTwitterLINE

Copyright @2021 – All Right Reserved.