Policy

  • คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เห็นชอบต่อหลักการของร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก่อนผลักดันเข้า ครม.ต่อไป การประชุมการคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (กนภ.) ครั้งที่ 4/2567 ที่มีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2567 ได้มีมติเห็นชอบต่อหลักการของร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. ….ซึ่งจะเป็นกลไกส่งเสริมการดำเนินงานและการกำหนดนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมปฏิบัติงานทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสนับสนุนให้เกิดกลไกทางการเงินเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืน นอกจากนั้นได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เร่งดำเนินการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อคณะรัฐมนตรี …

  • ที่ประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียน COP-19 เห็นพ้อง ผลักดันประเทศอาเซียน เป็นภูมิภาคปลอดหมอกควัน ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทาง ลดจุดความร้อนในพื้นที่พรุอาเซียน ให้ได้ตามเป้า การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของประเทศภาคีต่อข้อตกลงอาเซียน เรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 19 (COP – 19) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 โดยมีนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน โดยร่วมประชุมกับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมอาเซียนสาธารณรัฐสิงคโปร์,  สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และผู้แทนรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, …

  • ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่อันดับที่ 21 ของโลก โดยในปี 2019 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2065 ตามที่รัฐบาลไทยได้ประกาศไว้

  • หลายทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ส่งผลให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ขยายขอบเขตความเสียหายกว้างมากขึ้น และยิ่งสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญยิ่งทำให้บางภูมิภาคของโลกเกิดความแห้งแล้ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเสี่ยงเผชิญอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าระดับปกติ และอาจเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกอาจต้องเผชิญกับความแห้งแล้งฉับพลัน หรือในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำฝนอาจเผชิญกับพายุฝนรุนแรง เป็นต้น (1)

  • ในวันที่โลกกำลังต่อสู้กับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้ชัดเจนจากการเกิดภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำ ไฟป่ารุนแรง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย วาตภัยขนาดใหญ่ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และอื่น ๆ

  • 1
  • 2

Copyright @2021 – All Right Reserved.