ผู้ดูแลสวนสัตว์โคลัมบัสประหลาดใจ เมื่อซัลลี กอริลลาที่เข้าใจมาตลอดว่าเป็นตัวผู้ ให้กำเนิดลูกกอริลลาในกรง
สิงสาราสัตว์
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำในฟลอริดาบรรลุข้อตกลงกับองค์กรไม่แสวงหากำไร Friends of Lolita เพื่อปล่อยโลลิตา วาฬเพชฌฆาตหลังถูกใช้เพื่อการแสดงมานานกว่า 50 ปี
ยูเมะโนะสุเกะ (Yumenosuke) สุนัขค้นหาและกู้ภัยจากญี่ปุ่นได้เข้าร่วมค้นหาผู้รอดชีวิตกับเจ้าหน้าที่กู้ภัย ฉากหน้าที่กล้าหาญปราดเปรียว น้อยคนจะรู้ว่ายูเมะโนะสุเกะ คือสุนัขพันธุ์ทางปลายแถวที่ถูกเลื่อนวันการุณยฆาตออกไปเนื่องจากห้องการุณยฆาตรมแก๊สนั้นเต็ม
“เราทำให้ชีวิตของสัตว์ไร้เดียงสาต้องทุกข์ทรมาน เพียงเพราะคิดว่าพวกมัน ‘สวยงาม’ และ ‘น่ารัก’” ปิเอต อาเดมา รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม ธรรมชาติ และคุณภาพอาหารของนเธอร์แลนด์แถลง และนี่คือเหตุผลที่เนเธอร์แลนด์กำลังก้าวไปสู่การแบนสัตว์เลี้ยงที่ต้องทุกข์ทรมานกับรูปร่างที่ไม่สมส่วนของมัน
กิจกรรมของมนุษย์และการสูญเสียที่อยู่ทำให้ “พะยูน” ที่อาศัยอยู่บริเวณน่านน้ำของจีนสูญพันธุ์ตามธรรมชาติ (Functionally Extinct) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไม่มีจำนวนสมาชิกเพียงพอที่จะสืบพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้ หรือมีบทบาทในระบบนิเวศได้อีก
นักวิจัยค้นพบผึ้งชนิดใหม่ของโลกในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย ซึ่งพบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยและของโลก
ผมอยากใช้เหตุการณ์สลด ผู้พิทักษ์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี ถูกพรานยิงตายขณะเข้าจับกุม เขียน “จดหมายถึงพราน” เพื่อบอกกล่าวบางสิ่งบางอย่างในใจผม ต่อพวกพรานใจฉกาจ ถึงพรานใหญ่น้อยทั่วประเทศ
ตั้งแต่สมัยเป็นคอลัมนิสต์ ผมเขียนลงในหนังสือพิมพ์หลายครั้งหลายหน ในระดับ “เพ้อ” เลยทีเดียว พร่ำพูดถึงความดีความงามของ “บ่อนกแก่งกระจาน” อันเป็น “โมเดลการอนุรักษ์” ที่สุดยอดอันหนึ่ง เท่าที่เมืองไทยเคยมีมา
ท่ามกลางอากาศหนาวเย็นยะเยือกแห่งป่าทุ่งใหญ่นเรศวร อุณหภูมิลดฮวบต่ำสิบตั้งแต่สิ้นแสงตะวัน เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าขนท่อนฟืนมาก่อไฟไล่หนาวจนเปลวโชติช่วง ทันใดนั้น เจ้าหน้าที่ที่ส่องไฟฉายเล่นๆ ไปตามพุ่มไม้ ก็ร้องขานออกมาว่า “แมว!” ผมเด้งตัวจากเก้าอี้พลาสติก จนเก้าอี้หักกร๊อบ (เก้าอี้ของเจ้าหน้าที่ กรรม!) พอมองตามแสงไฟฉายไป ไม่อยากเชื่อสายตา ที่เห็นนั่นคือ แมวดาว (Leopard Cat)
ฤดูหนาวของไทยในทุกปี เรามักได้เห็นคำพาดหัวของหนังสือพิมพ์หัวสีประมาณว่า “ตะลึงนกยักษ์ตกทุ่งนา” เห็นคำนี้ก็หลับตาเดาได้เลย อีแร้งแน่นอน และแทบจะเจาะจงชื่อมันได้อีกต่างหากว่า อีแร้งสีน้ำตาลหิมาลัย (Himalayan Griffon) เพราะเป็นอีแร้งหนึ่งเดียวที่ยังมาเที่ยวเมืองไทยอย่างสม่ำเสมอ สำหรับฤดูหนาวปีนี้ ที่ส่อเค้าจะหนาวจัดและหนาวนาน โอกาสที่จะมี “นกยักษ์” จะมาเยือนเมืองไทยอีกครั้ง ดูจะมีโอกาสเป็นไปได้มากทีเดียว