‘หลอดกระดาษ’ รักษ์โลก? ทรัมป์ ประกาศ กลับไปใช้ หลอดพลาสติก

by Pom Pom

 

 

“หลอดกระดาษ” มักถูกมองว่าเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อเทียบกับ “หลอดพลาสติก” แต่งานวิจัยพบ สารเคมีตลอดกาล อยู่ในหลอดกระดาษ สูงกว่า หลอดพลาสติก ขณะที่ ทรัมป์ ประกาศให้กลับไปใช้หลอดพลาสติกตามเดิม

 

“ผมจะเซ็นคำสั่งฝ่ายบริหารสัปดาห์หน้า เพื่อหยุดการผลักดันที่ไร้สาระของไบเดน ในเรื่องหลอดกระดาษ ซึ่งไม่ได้ผล ให้กลับไปใช้หลอดพลาสติก”

 

เป็นคำประกาศของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่โพสต์ข้อความลง Truth Social ที่จะหยุดผลักดันให้มีการใช้ “หลอดกระดาษ” และให้กลับไปใช้ “หลอดพลาสติก” ตามเดิม โดยให้เหตุผลว่า ใช้งานง่ายกว่า และเป็นสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งแนวทางรักษ์โลก เขาเคยค้าน สุดฤทธิ์สุดเดช เพราะไม่เชื่อว่า ภาวะโลกร้อน มีอยู่จริง

 

โดยก่อนหน้านี้ในปี 2022 กระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลโจ ไบเดน ออกมาตรการลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทั้งหมดภายในปี 2032 ซึ่งรวมถึงหลอด ขวด และบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากพลาสติก

 

หลอดพลาสติก ศัตรูหมายเลขหนึ่งของสิ่งแวดล้อม

 

นับตั้งแต่ปี 2018 ภาพหลอดพลาสติกที่ติดอยู่ในจมูกของเต่าทะเล กลายเป็นไวรัลไปทั่วโลก ทำให้หลายคนตระหนักถึงความร้ายกาจของหลอดพลาสติก ประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งขึ้นมา และเรียกร้องให้มีการผลิตหลอดประเภทใหม่ที่สามารถย่อยสลายได้ ไม่ว่าจะเป็น หลอดจากเนื้อเยื่อพืช, หลอดไม้ไผ่ หลอดสแตนเลส แต่ดูเหมือนว่า หลอดกระดาษ จะเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยเฉพาะตามร้านกาแฟ แม้มันจะเปื่อยยุ่ยในเวลาอันรวดเร็ว และทำให้เสียรสชาติก็ตามที

 

แต่ทว่า การรณรงค์ให้ใช้หลอดกระดาษ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติ เพื่อลดการใช้พลาสติก เริ่มมีข้อกังขาว่า รักษ์โลกจริงหรือ เมื่องานวิจัยที่เผยแพร่บนวารสาร Food Additives and Contaminants ได้เน้นย้ำถึงปัญหาของหลอดชนิดนี้อีกครั้ง โดยนักวิทย์ พบสารเคมีตลอดกาล หรือ forever chamicals ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ย่อยสลายในสิ่งแวดล้อม ในหลอดกระดาษ ประมาณ 10-20 แบรนด์ในท้องตลาด อันเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมนุษย์

 

หลอดกระดาษ ตัวการร้ายมลพิษ

 

ส่วนข้อมูลนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ยังพบว่า หลอดหลายชนิดต่างก็มีสารเคมีตลอดกาล (สารเพอร์ฟลูออโรอัลคิล และโพลีฟลูออโรอัลคิล หรือ PFAS) อยู่ในหลอด ซึ่งจะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายทศวรรษ และที่สำคัญก็คือ หลอดกระดาษ มี PFAS มากกว่าหลอดชนิดอื่นหลายเท่า

 

จากการสุ่มตรวจ นักวิทย์พบสาร PFAS หนึ่งในสารเคมีอมตะในหลอดประเภทอื่นๆ ด้วย โดยพบในหลอดกระดาษมากถึง 90% หลอดไม้ไผ่ 80% หลอดพลาสติก 75% หลอดแก้ว 40% ยกเว้นหลอดที่ทำจากสแตนเลส ที่ไม่พบสารเคมีชนิดนี้

 

นักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังการศึกษานี้ กล่าวว่า ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า หลอดกระดาษและหลอดไม้ไผ่ ซึ่งพบว่ามีสาร PFAS เช่นกันนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าพลาสติกเสมอไป พวกเขาบอกว่า สารเคมีที่มีอยู่ในหลอดกระดาษมีปริมาณสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดคำถามว่า ทางเลือกเหล่านี้ “ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ” มากเพียงใด

 

การประมาณการที่ไม่ค่อยเป็นวิทยาศาสตร์แต่ซ้ำกันบ่อยครั้ง ระบุว่า หลอดดูดน้ำแบบใช้แล้วทิ้งที่ใช้ทุกวันในสหรัฐอเมริก ามี 500 ล้านหลอด ความถูกต้องของสถิติดังกล่าวยังคงเป็นที่โต้แย้ง และตัวเลขที่แท้จริงอาจน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว แน่นอนว่า จำนวนเงินที่ใช้ซื้อหลอดดูดน้ำแบบใช้แล้วทิ้งนั้น เพิ่มขึ้นทุกปีในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าการประมาณจำนวนหลอดพลาสติกที่ใช้ในแต่ละปี และจำนวนหลอดพลาสติกที่ทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อมจะยากต่อการยืนยัน แต่สิ่งที่ชัดเจนคือหลอดพลาสติกกระจายอยู่ทุกที่

 

ทั้งนี้ สาร PFAS พบได้ในผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท ตั้งแต่กระทะเคลือบเทฟลอนไปจนถึงเสื้อผ้า และช่วยให้วัสดุต่างๆ ทนต่อน้ำและคราบสกปรก สารเหล่านี้อาจเป็นอันตรายต่อผู้คน สัตว์ป่า และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสลายตัวช้ามาก และอาจคงอยู่ได้นานหลายพันปี การศึกษาเชื่อมโยงสารเคมีเหล่านี้กับมะเร็งหลายชนิด และแหล่งน้ำสำคัญหลายแห่งก็ปนเปื้อนสารเหล่านี้ คาดว่า สาร PFAS มีอยู่ในร่างกายของคนอเมริกันมากกว่า 97 เปอร์เซ็นต์ ที่น่าตกใจ นักวิจัยยังพบสารเหล่านี้ในน้ำนมแม่ด้วย

 

แต่ประเด็นก็คือ PFAS ชนิดนี้ถูกห้ามใช้ทั่วโลกตั้งแต่ปี 2020 แล้ว ทว่าก็ยังตรวจพบอยู่ นอกจากนี้ พวกเขายังตรวจพบ กรดไตรฟลูออโรอะซิติก และกรดไตรฟลูออโรมีเทนซัลโฟนิก แบบ ‘สายสั้นพิเศษ’ ที่มีความสามารถในการละลายน้ำได้สูง ซึ่งหมายความว่า อาจซึมออกจากหลอดและเข้าไปในเครื่องดื่มได้

 

ไม่ใช้หลอดกระดาษ ไม่ใช้หลอดพลาสติก แล้วควรใช้อะไร

 

นักวิทยาศาสตร์ ระบุว่า การพบสาร PFAS ในหลอดกระดาษและหลอดไม้ไผ่ แสดงให้เห็นว่าหลอดเหล่านี้ไม่ได้ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ แต่เราไม่ตรวจพบสาร PFAS ในหลอดสแตนเลส ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้บริโภคใช้หลอดประเภทนี้ หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงการใช้หลอดเลย

 

 

อ้างอิง :

Copyright @2021 – All Right Reserved.