‘อ่างเก็บน้ำ’ ทั่วโลกแห้งลง เหตุโลกร้อนและการเพิ่มขึ้นของประชากร

by IGreen Editor

อ่างเก็บน้ำทั่วโลกเริ่มว่างเปล่ามากขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา แม้ว่าความจุโดยรวมจะเพิ่มขึ้นจากการสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ก็ตาม

จากข้อมูลดาวเทียมของอ่างเก็บน้ำทั่วโลก 7,245 แห่ง พบว่าระหว่างปี 2533 ถึง 2561 ระดับน้ำกักเก็บทั่วโลกลดน้อยลง แม้ความจุอ่างเก็บน้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราปีละ 28 ลูกบาศก์กิโลเมตร จากการสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่

การค้นพบของรายงานนี้บ่งชี้ว่าการจัดการกับความต้องการน้ำในอนาคตไม่สามารถพึ่งพาการสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่เพียงอย่างเดียว และเน้นย้ำถึงความจำเป็นสำหรับกลยุทธ์การจัดการที่แปลกใหม่มากขึ้น

ในขณะที่ ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ ถูกระบุว่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อระดับน้ำที่ลดลง รวมไปถึงความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นก็มีส่วนเช่นกัน

ฮุยลิน เกา หัวหน้าทีมวิจัยระบุว่า อ่างเก็บน้ำบนผิวดินกลายเป็นแหล่งน้ำที่ถูกพึ่งพามากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากรในบริบทของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

แนวโน้มที่คาดการณ์ได้จากผลการวิจัย บ่งชี้ว่าปริมาณน้ำจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการจัดหาน้ำ

การลดลงของปริมาณกักเก็บในอ่างเก็บน้ำเห็นได้ชัดในเอเชียใต้ แอฟริกา และอเมริกาใต้ แม้ว่าจะมีการพยายามสร้างอ่างเก็บน้ำใหม่ แต่ข้อมูลในรายงานแสดงให้เห็นว่ามีปริมาณน้ำที่กักเก็บได้ต่ำกว่าระดับที่คาดไว้

อเมริกาใต้และแอฟริกาได้รับผลกระทบเป็นพิเศษจากการลดลง ซึ่งรายงานระบุว่าเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้น

ในทางตรงกันข้าม อ่างเก็บน้ำในภูมิภาคต่างๆ เช่น อเมริกาเหนือและยุโรปกำลังประสบกับแนวโน้มน้ำเพิ่มขึ้นถึงความจุสูงสุด ซึ่งเป็นผลมาจากความหนาแน่นของประชากรที่ต่ำกว่า และผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์น้อยกว่า

ขณะที่ไทย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมการประเมินสถานการณ์น้ำเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบของสภาวะเอลนีโญ ซึ่งมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นยาวไปถึงปีหน้า

ระบุว่าปัจจุบันสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีปริมาณลดลง ต้องเน้นย้ำเรื่องการรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนพัฒนาแหล่งน้ำของตนเองเพื่อรองรับหากเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงด้วย โดยหากประชาชนได้รับความเดือดร้อนสามารถแจ้งข้อมูลเข้ามาได้ที่เพจเฟซบุ๊คของ สทนช. หรือแจ้งไปยัง สทนช.

ที่มา

Copyright @2021 – All Right Reserved.