News Update

  • รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศพื้นที่กรุงเทพฯ พบค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ส่วนดัชนีคุณภาพอากาศเกิน 100 AQI

  • ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ออกประกาศขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งทำงานที่บ้านในส่วนที่ไม่กระทบต่อการบริการประชาชน หลังค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

  • เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 2566 นายเทวัญ จันทร์พรหม หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ จซ.4 (แม่อ้อ) ขณะออกดำเนินการดับไฟป่าต่อเนื่องบริเวณรอยต่อเขตท้องที่ต.ร่องเคาะ อ.วังเหนือ ต.แม่สุก อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง

  • กรมอุตุวิทยาประกาศเตือนว่า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งรวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป 

  • นักวิทยาศาสตร์เพาะเซลล์ ปลาหมึกและหมึกยักษ์เป็นที่ทราบกันดีว่ามีคุณสมบัติพิเศษในการพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อหลบเลี่ยงผู้ล่าหรือเหยื่อ หลายปีที่ผ่านมานักวิจัยได้พยายามเพาะเลี้ยงเซลล์ปลาหมึกในห้องแล็บ เพื่อค้นหาโครงสร้างของคุณสมบัติโปร่งใสของปลาหมึกแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ กระทั่งล่าสุดทีมนักวิจัยได้ปรับวิธีการใหม่ โดยจำลอง (replicate) ความโปร่งใสที่ปรับได้จากเซลล์ผิวหนังของปลาหมึกในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งปรากฎว่าวิธีนี้สามารถเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังที่ปรับความโปร่งใสของปลาหมึกได้ งานวิจัยนี้ไม่เพียงทำให้กระจ่างเกี่ยวกับชีววิทยาพื้นฐานของปลาหมึกเท่านั้น แต่ยังนำไปสู่วิธีที่ดียิ่งขึ้นในการถ่ายภาพเซลล์หลายชนิด ความโปร่งใสที่ปลาหมึกพัฒนาปรับเปลี่ยนได้มาจากโครมาโตฟอร์ เซลล์ที่สร้างเม็ดสีที่อยู่ใต้ผิวหนังควบคุมโดยกล้ามเนื้อ ทำงานโดยการหดและขยายถุงเม็ดสีเพื่อทำให้มองเห็นสีได้มากขึ้นหรือน้อยลง แต่ปัญหาของโครมาโตฟอร์คือไม่สามารถทำงานเดี่ยวๆ ได้ เพราะเม็ดสีสร้างมีเพียงสีดำ น้ำตาล ส้ม แดง หรือเหลืองเท่านั้น นักวิจัยจึงมุ่งไปที่ ลิวโคฟอร์ (leucophores) เซลล์ผิวหนังที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของโครงสร้างผ่านโปรตีนที่เรียกว่าสารสะท้อนแสงที่เกาะกลุ่มกันเพื่อสร้างอนุภาคนาโนที่สะท้อนแสงกลับที่ความยาวคลื่นต่างกัน สีที่สะท้อนแสงยังปรากฏแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับมุมที่สังเกต ลิวโคฟอร์เป็นเซลล์ใช้โปรตีนวิเศษที่รู้จักกันในชื่อ ‘รีเฟลกติน’ เพื่อกระจายแสงรอบๆ ตัวเอง …

  • นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกนต์ ระบุว่าป่าฝนเขตสงวนชีวมณฑลของยูเนสโกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกจะกลายเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนอันดับหนึ่งที่สำคัญสุดในโลก แทนที่ป่าแอมะซอนในอเมริกาใต้

Copyright @2021 – All Right Reserved.