การเปลี่ยนสีของมหาสมุทร คือสัญญาณเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ

by IGreen Editor

ข้อมูลดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มหาสมุทรทั่วโลกเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวเกิดมากกว่าร้อยละ 56 โดยเฉพาะในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร

ดาวเทียม Modis-Aqua ของ Nasa ได้ตรวจพบว่าการเปลี่ยนแปลงของสีน้ำในมหาสมุทรจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ในมหาสมุทรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งพื้นที่ที่เปลี่ยนสีมีมากกว่าพื้นที่ทั้งหมดบนโลก

ดร.บีบี คาเอล จากศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร และทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลจาก NASA และเชื่อว่าสีเขียวเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คืออะไรและสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่ ดร.บีบี กล่าวว่าน่าจะเชื่อมโยงกับสิ่งมีชีวิตที่อยู่ฐานของห่วงโซ่อาหารส่วนใหญ่ นั่นคือแพลงก์ตอนพืช สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญในการผลิตออกซิเจนจำนวนมากที่เราใช้หายใจและทำให้ชั้นบรรยากาศของเราคงที่

การเปลี่ยนแปลงของสีของมหาสมุทรอาจสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงในสถานะของระบบนิเวศ สีน้ำเงินเข้มบ่งบอกถึงชีวิตที่น้อยลง ในขณะที่สีเขียวที่บ่งบอกถึงกิจกรรมที่มากขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช

อย่างไรก็ตามสีของมหาสมุทรสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกปีโดยระดับคลอโรฟิลล์ที่พื้นผิวจะแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้ยากที่จะแยกแยะว่าการเปลี่ยนจากสีน้ำเงินเป็นสีเขียวนั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไม่

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 40 ปี ตรวจสอบสีของมหาสมุทรเพื่อสังเกตแนวโน้มความเป็นไปใดๆ เนื่องจากดาวเทียมแต่ละตัวมีมาตรวัดสีด้วยวิธีแตกต่างกัน และไม่สามารถนำข้อมูลจากแต่ละรายการมารวมกันได้

เพื่อเจาะลึกลงไปในสีที่เปลี่ยนแปลงในมหาสมุทร NASA จึงตั้งภารกิจใหม่ขึ้นมาชื่อว่า Pace (Plankton- Aerosol – Cloud, ocean Ecosystem) กำหนดเปิดตัวในเดือนมกราคม 2024 โดยภารกิจนี้จะศึกษาแพลงก์ตอนพืช (สาหร่ายขนาดเล็กชนิดหนึ่ง) สีของมหาสมุทร และตรวจวัดอนุภาคในชั้นบรรยากาศและก้อนเมฆ เพื่อให้เข้าใจระบบนิเวศของมหาสมุทร วัฏจักรคาร์บอนในมหาสมุทร และสภาพอากาศของโลก

ที่มา

Copyright @2021 – All Right Reserved.