เปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืด
ด้วยทุ่นพลังงานคลื่น
ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล

by Admin

ทุ่นผลิตน้ำจืดจากทะเลหรือสกัดแยกเกลือออกจากน้ำทะเลนี้ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิล 170,000 ขวด ใช้พลังงานคลื่นเป็นตัวขับเคลื่อนขณะที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร สามารถสร้างน้ำจืดได้มากถึง 50,000 ลิตร ต่อวัน ในขณะที่ปล่อยน้ำเกลือที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าเครื่องสกัดเกลือออกจากน้ำทะเลแบบอื่น

โลกมีน้ำปกคลุม 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่มีเพียง 3% ของน้ำบนโลกเท่านั้นที่เป็นน้ำจืด หากแบ่งน้ำจืดออกเป็น 100 ส่วน หักน้ำจืดที่กักเก็บในรูปแบบของน้ำแข็ง หิมะ น้ำใต้ดิน ความชื้นในดินและในชั้นบรรยากาศออกแล้ว จะเหลือน้ำผิวดินเพียง 0.3 ส่วนเท่านั้น ที่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับอัตราการขยายตัวของประชากร

ในขณะที่ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงดำเนินต่อไป สถานการณ์การขาดแคลนน้ำจะเลวร้ายลงมาก เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลจึงเริ่มมีการนำมาใช้ในหลายประเทศอย่างแพร่หลายมากขึ้น

ถึงกระนั้นในการสร้างโรงงานผลิตน้ำจืดจากทะเลนั้นต้องใช้พลังงานมหาศาลและปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยากที่จะเลี่ยง เพราะหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำจืดอย่างหนัก และมีแนวโน้มว่าในอนาคตเราจะต้องการโรงแยกเกลือออกจากน้ำทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเป็นเหตุผลที่ Oneka สร้างทุ่นแยกเกลือออกจากน้ำทะเลที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานคลื่นออกมา

ทุ่นนี้สามารถทอดสมออยู่ในทะเลทุกได้ทุกที่ ที่มีความสูงของคลื่นโดยเฉลี่ยมากกว่า 1 เมตร โดยทุ่นจะดูดพลังงานจากคลื่นที่ผ่านไป และแปลงเป็นแรงสูบน้ำเชิงกล ที่ดึงน้ำทะเลเข้ามาและดันประมาณ 1 ใน 4 ส่วนของคลื่นผ่านทิศทางตรงกันข้าม ผ่านระบบแยกเกลือออกจากน้ำทะเลแบบออสโมซิสเพื่อสร้างน้ำจืดที่ดื่มได้ ก่อนสูบกลับขึ้นฝั่งผ่านท่อโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงอีกครั้งโดยใช้พลังงานจากคลื่นเท่านั้น

ส่วนที่เหลืออีก 3 ใน 4 ส่วน จะถูกผสมกลับเข้าไปกับน้ำเกลือเข้มข้นที่ผ่านกระบวนการแยกเกลือออกในส่วนแรกและปล่อยกลับลงสู่ทะเล ด้วยวิธีนี้ทำให้ความเค็มของน้ำสูงกว่าความเค็มของน้ำที่อยู่รอบๆ เพียง 30% ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับน้ำเกลือเข้มข้นที่ปล่อยออกมาจากโรงกลั่นน้ำทะเลที่อยู่บนฝั่ง

ทุ่นขนาดภูเขาน้ำแข็งได้รับการออกแบบให้ผลิตน้ำระหว่าง 30-50 ลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 30,000-50,000 ลิตรต่อวัน ซึ่งเพียงพอสำหรับความต้องการในแต่ละวันของผู้คนระหว่าง 100-1,500 คน ขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และการบริโภค 

แม้กำลังการผลิตจะไม่สามารถเทียบได้กับโรงกลั่นใหญ่ๆได้ แต่ทุ่นนี้สามารถช่วยท้องถิ่น หรือชุมชนได้ สามารถปรับขนาดตามความต้องการ อีกทั้งยังเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืดที่ไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ต้องใช้พื้นที่บนชายฝั่ง ไม่ใช้ไฟฟ้า และเราสามารถคิดออกแบบด้วยการในการนำขวดพลาสติกเก่ากลับมาใช้ใหม่ได้

ที่มา: Oneka Water Website

November 21, 2022. “Wave-powered buoys vastly reduce the ecological cost of desalination.” New Atlas

Copyright @2021 – All Right Reserved.