พื้นที่ชุมน้ำโลก เติมเต็มระบบนิเวศ
ยืดลมหายใจของมนุษยชาติ

by Igreen Editor

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day) ตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นการตั้งตามชื่อสถานที่จัดประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญา ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514

ทำความเข้าใจง่ายๆ ความสำคัญของ “พื้นที่ชุ่มน้ำโลก” คือพื้นที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ป้องกัน ยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่และเจ้าของ (ประเทศนั้นๆ) พื้นที่ต้องกำหนดแผนการบริหารจัดการในการใช้ประโยชน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบนิเวศ ไม่ใช่นำไปใช้เพื่อการพาณิชย์

ความสำคัญตามชื่อ คือชุ่มน้ำ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของสัตว์และพืชนานาชนิด เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ในการใช้ชีวิตของมนุษย์

สำหรับประเทศไทย เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ ลำดับที่ 110 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 โดยมีการเสนอ “พรุควนขี้เสี้ยน” ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย และในลำดับ 948 ของโลก

ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ หรือ Wetlands ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็น Ramsar Site จำนวน 14 แห่ง ดังนี้
1. พรุควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง
2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จ.บึงกาฬ
3. ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม

4. ปากแม่น้ำกระบี่ จ.กระบี่
5. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จ.เชียงราย
6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ (พรุโต๊ะแดง) จ.นราธิวาส
7. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-หมู่เกาะลิบง-ปากน้ำตรัง จ.ตรัง

8. อุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรี-ปากคลองกะเปอร์ จ.ระนอง
9. อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี
10. อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จ.พังงา
11. อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์

12. พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง จ.บึงกาฬ
13. เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช
14. เกาะระ เกาะพระทอง จ.พังงา

Copyright @2021 – All Right Reserved.