สเปนตั้งชื่อคลื่นความร้อนแต่ละระดับ หวังคนตระหนักเตรียมพร้อมรับมือ

by Igreen Editor

คลื่นความร้อนเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไรนอกจากแค่ความรู้สึกว่าร้อน ต่างจากผลกระทบของพายุหรือน้ำท่วมจะส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างเห็นได้ชัด การตั้งชื่อคลื่นความร้อนจะทำให้คนมองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็นได้มากขึ้น และยังทำให้เป็นเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

คลื่นความร้อนได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘เพชฌฆาตเงียบ’ ด้วยเหตุผลว่ามันสามารถสร้างความเสียหายที่มองไม่เห็นต่อทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และคร่าชีวิตผู้คนมากกว่าภัยจากสภาพอากาศอื่นๆ แต่อันตรายเหล่านี้ถูกประเมินต่ำไปอย่างมากและถูกเข้าใจผิดอย่างหนัก การตั้งชื่อและจัดหมวดหมู่คลื่นความร้อนจะช่วยให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐเตรียมพร้อมรับมือต่อสู้ความร้อน และสร้างความตระหนักรู้ใหม่ในสังคมร่วมกัน

เซบียา (Seville) ประเทศสเปน เป็นเมืองแรกของโลกที่ใช้ระบบตั้งชื่อและจัดอันดับคลื่นความร้อน คล้ายกับวิธีตั้งชื่อพายุ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายและเข้าใจความรุนแรงของสถานการณ์ได้ดีขึ้น

ระบบจำแนกคลื่นความร้อนไม่เพียงระบุแค่ระดับความร้อนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความชื้น และช่วงระยะเวลาที่เกิด ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ในแต่ละระดับจะมาพร้อมกับชุดมาตรการเพื่อจัดการผลกระทบที่เกิดจากคลื่นความร้อน อาทิ การส่งเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ไปตรวจผู้ที่มีความเสี่ยง การเปิดสระน้ำให้นานขึ้น การตั้งศูนย์ทำความเย็น และส่งคำเตือนให้ประชาชนรับทราบ

สำหรับชื่อนั้นจะถูกกำหนดตามลำดับตัวอักษรย้อนกลับ โดยเริ่มจาก Z คือ Zoe ตามด้วย Yago, Xenia, Wenceslao และ Vega

ความคิดริเริ่มนี้ของระบบนี้เป็นความร่วมมือระหว่างเมืองเซบียา และพันธมิตรด้านส่างแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น สำนักงานการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสเปน รวมถึงมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่งของสเปน

ตามรายงานของ Scientific American ระบุว่า แนวคิดของระบบนี้ คือต้องการ ลดการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตจากความร้อน ด้วยการสร้างความตระหนักรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับอันตรายของคลื่นความร้อน และช่วยให้ชุมชนดำเนินการตามแผนรับมือเหตุฉุกเฉินได้ดีขึ้น

ระบบจำแนกคลื่นความร้อนเปิดตัววันที่ 21 มิถุนายน 2565 ขณะที่สเปนต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี และชื่อคลื่นความร้อนแรกที่ได้ใช้คือ Zoe ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันที่ทำให้ตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 43°C ทุบสถิติที่เคยบันทึกมา ในขณะที่ปีนี้พื้นที่ทางตอนใต้ของสเปนเช่น เซบีญา และกอร์โดบา ทำลายสถิติเดิมของปีที่แล้วด้วยอุณหภูมิร้อนจัดถึง 44°C

คลื่นความร้อนเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างไรบ้าง นอกจากแค่ความรู้สึกว่าร้อน ต่างจากผลกระทบของพายุหรือน้ำท่วมจะส่งผลต่อโครงสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมทางกายภาพอย่างเห็นได้ชัด

ซูซาน จอย ฮาซซอล ผู้สื่อสารด้านสภาพอากาศจาก Aspen Global Change Institute to Science News เชื่อว่า การตั้งชื่อคลื่นความร้อนจะทำให้มองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็นได้มากขึ้น และยังทำให้เป็นเปลี่ยนนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนมากขึ้น

ฮาซซอลกล่าวเพิ่มเติมว่า “ผู้คนรู้ว่าเมื่อใดที่พายุเฮอริเคนกำลังจะมา มันถูกตั้งชื่อและจัดหมวดหมู่แล้ว และพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อเตรียมการ และนั่นคือสิ่งที่เราต้องการให้ผู้คนเตรียมรับมือกับคลื่นความร้อน”

การตั้งชื่อคลื่นความร้อนยังบ่งบอกถึงความจริงที่สำคัญอีกว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เหตุการณ์สภาพอากาศที่ ‘ประหลาด’ อีกต่อไป แต่มันคือความจริงที่ทุกคนต้องเผชิญ

ที่มา

Copyright @2021 – All Right Reserved.