Climate Change

  • งานวิจัยที่นำโดย Jan Zrimec แห่งสถาบันชีววิทยาแห่งชาติ ในกรุงลูบลิยานา ประเทศสโลวีเนียพบว่า จุลินทรีย์ในมหาสมุทรและดินทั่วโลกกำลังวิวัฒนาการตัวเองเพื่อกินพลาสติก การวิจัยได้สแกนยีนมากกว่า 200 ล้านยีนที่พบในตัวอย่างดีเอ็นเอที่นำมาจากสิ่งแวดล้อม และพบว่ามีเอ็นไซม์ต่าง ๆ 30,000 ชนิด ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกได้ 10 ชนิด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เกือบ 60% ของเอ็นไซม์ใหม่ไม่เข้ากับอันดับของเอ็นไซม์ที่รู้จักกันมาก่อน บ่งชี้ว่าโมเลกุลเหล่านี้ทำการย่อยสลายพลาสติกในลักษณะที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน พวกเขาพบเอ็นไซม์ใหม่ประมาณ 12,000 ตัว ในตัวอย่างมหาสมุทร แต่ที่น่าสนใจก็คือ ยิ่งระดับน้ำลึกยิ่งพบเอ็นไซม์ที่ย่อยสลายพลาสติกมากขึ้น ตรงกันข้ามกับน้ำตื้นที่มีพลาสติกมากกว่า แต่พบเอ็นไซม์ย่อยสลายน้อยกว่า …

  • โลกของเรามีห้องที่ติดแอร์มากถึง 1,000 ล้านห้อง หรือประมาณทุก ๆ 7 คนบนโลกจะมีแอร์ 1 ยูนิต และคาดว่าภายในปี 2593 มีแนวโน้มที่จะมากกว่า 4,500 ล้านยูนิตซึ่งจะทำให้ทุกคนบนโลกนี้แทบจะมีแอร์กันครบทุกคนเหมือนที่ทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ถ้าทั่วโลกใช้แอร์กันมากขนาดนั้นมันจะกินพลังงานไฟฟ้าประมาณ 13% ของทั้งหมดทั่วโลก และผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2,000 ล้านตันต่อปีในปริมาณเทียบเท่ากับอินเดียปล่อยออกมาทั้งประเทศ ซึ่งอินเดียเป็นผู้ปล่อยก๊าซที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเพอร์ดูได้พัฒนาสีขาวพิเศษสามารถสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ 98.1% ปกติสีทาบ้านแบบเดิมก็สามารถสะท้อนความร้อนอยู่แล้ว แต่จะสะท้อนแสงได้ไม่เกิน 90% ของแสงแดด และไม่ทำให้พื้นผิวเย็นลง สีขาวโคตร ๆ …

  • ประเด็นที่ 1- ฝุ่น PM2.5 มลพิษอากาศประจำปีในหลายจังหวัดโดยเฉพาะภาคเหนือตอนบน, พื้นที่ กทม. และปริมณฑล ณ เวลานี้ยังไม่รุนแรง แนวทางรับมือล่าสุดที่ประชุม ครม. 28 ธ.ค. 64 มีมติรับทราบร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 65 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามร่างแผนเฉพาะกิจฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ซึ่งก่อนหน้านี้ฝุ่นเริ่มเกินค่ามาตรฐานบ้างแล้วในหลายเขตของ กทม. มาตรการรับมือที่ว่าก็คือแผน “1 สื่อสาร 5 ป้องกัน 3 …

  • ยูนีซ นิวตัน ฟุท ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ. 2399 โดยได้ตั้งทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป เท่ากับเป็นการค้นพบภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนครั้งแรกอย่างที่เรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้นั่นเอง ยูนีซ นิวตัน ฟุท (Eunice Newton Foote) เกิดเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2362 …

  • ไทยแลนด์น่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารหลากหลาย (หรือใช้เปลือง) มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเฉพาะถุงใส่น้ำจิ้มต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับอาหารหลัก เพราะอาหารไทยมักพ่วงมาด้วยน้ำจิ้ม และน้ำยำ ผลก็คือเรามีขยะจากถุงน้ำจิ้มเต็มไปหมด ในขณะที่เรายังแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ๆ ยังไม่สำเร็จ เราควรแก้ปัญหาถุงพลาสติกขนาดเล็กไปพลางก่อน อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำจิ้มหรือถุงเครื่องปรุงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ หนึ่งในผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ตัวนี้อยู่ที่ลอนดอน คือ บริษัท Notpla เป็นสตาร์ทอัพที่สร้างบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนจากสาหร่ายและพืช ผลิตภัณฑ์เด่นของพวกเขาคือ Ooho เป็นซองบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่นที่เหมาะสำหรับเครื่องดื่ม และซอส ซึ่งกินได้ 100% โดยเฉพาะเครื่องปรุงรสที่นำกลับบ้าน ที่น่าสนใจก็คือซองบรรรจุน้ำจิ้ม Ooho จะเหลือขยะเป็นศูนย์เพราะสามารถกินมันเข้าไปเลย เนื่องจากทำจากวัสดุธรรมชาติ …

  • ขึ้นปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ฝรั่งเศสเริ่มสิ่งใหม่ ๆ เพื่อโลกทันที เมื่อกฎหมายฉบับใหม่ห้ามใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในผักและผลไม้หรือการใช้พลาสติกแรปห่อมีผลบังคับใช้แล้ว คำสั่งแบนนี้มีผลครอบคลุมผัก และผลไม้ 30 ชนิดที่ห้ามไม่ให้ห่อด้วยพลาสติก รวมถึงแตงกวา กีวี มะนาว และส้ม ซึ่งมักใช้พลาสติกบางห่อหรือแรปเอาไว้เป็นลูก ๆ เวลานำไปวางจำหน่าย (plastic wrap เป็นฟิล์มพลาสติกบางใสใช้ห่อหุ้มอาหารช่วยคงความสดให้นานขึ้น) ส่วนบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ 1.5 กิโลกรัมขึ้นไป รวมทั้งผลไม้ที่ตัดแต่งพร้อมรับประทาน หรือแปรรูปจะได้รับการยกเว้น แต่มันเป็นการยกเว้นที่มีอายุไม่ยืนยาวนัก เพราะในอนาคตฝรั่งเศสคงไม่ปล่อยไว้แน่ ๆ …

Copyright @2021 – All Right Reserved.