Ocean

  • ศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยนิวอิงแลนด์ ได้รับมอบกุ้งล็อบสเตอร์สีส้มจากชาวประมง เพื่อนำมาศึกษาต่อ โดยนักวิจัยระบุว่านี่คือล็อบสเตอร์หายากที่พบได้เพียง 1 ใน 30 ล้านตัวเท่านั้น โดยทั่วไปแล้วกุ้งล็อบสเตอร์จะมีสีหม่นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ และจะเปลี่ยนเป็นมีสีแดงหลังจากถูกทำให้สุกแล้วเท่านั้น เหตุที่สีของกุ้งล็อบสเตอร์ตัวนี้ต่างจากตัวอื่นอาจเกิดจากพันธุกรรม แต่ศูนย์ฯ ยังไม่ตัดประเด็นแวดล้อมออก ถ้าสีของมันเกิดจากพันธุกรรม หลังลอกคราบมันจะยังมีสีส้มสม่ำเสมอ แต่ถ้าเกิดจากสภาพแวดล้อม มีความเป็นได้ที่สีของมันจะเปลี่ยนไปหลังย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ ชารล์ส ธิลเบอร์ก ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเลระบุว่ากามที่หายข้างหนึ่งอาจหลุดระหว่างเกิดการต่อสู้กับกุ้งหรือปลาตัวอื่น อย่างไรก็ตามทางศูนย์มีแผนที่จะทำการศึกษาแบบเรียลไทม์ จดบันทึกอย่างละเอียดเพื่อให้เห็นทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสีและก้ามอีกข้างว่าจะงอกเป็นสีอะไร กุ้งล็อบสเตอร์สีส้มก้ามเดี่ยว ตัวนี้ถูกจับได้ที่อ่าวแคสโค ในรัฐเมน เมื่อวันศุกร์ โดยกัปตันเกรก เธอร์นเนอร์ จากร้านอาหารทะเล …

  • เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติอ่าวสยาม(เตรียมการ) และมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม พบ ‘แม่เพรียง’ เต่ากระ กลับขึ้นมาวางไข่ รังที่ 2 รวม 161 ฟอง ที่บริเวณชายหาดเกาะทะลุ

  • อิสราเอลพัฒนาครีมกันแดดตัวแรกของโลกที่ไม่เพียงไม่เพียงแต่ปกป้องผิวจากรังสียูวี แต่ยังให้อาหารและบำรุงปะการังที่ใกล้สูญพันธุ์แนวปะการัง

  • มลพิษพลาสติกในมหาสมุทรโลกเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนตั้งแต่ปี 2005 และอาจเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าภายในปี 2040 หากไม่มีการดำเนินการใดๆ

  • กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง ได้โพสต์โปสเตอร์ ฉลามและกระเบนไทย ผ่านเฟสบุ๊ก ‘กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง’ เป็นโปสเตอร์ชุดใหม่ที่รวมรวมสายพันธุ์ฉลามในทะเลไทยที่สมบูรณ์ที่สุด และเปิดให้สามารถโหลดไฟล์ขนาดใหญ่เก็บไว้

  • ประชากรปูหิมะในทะเลแบริ่งต่ำของอะแลสกาต่ำกว่าเกณฑ์จากการทำประมงเชิงพาณิชย์ที่ต่อเนื่องและล้นเกิน โดยข้อมูลของ Benjamin Daly ระบุว่า ตัวเลขปูหิมะลดลงจากประมาณ 8,000 ล้านตัวในปี 2018 เหลือแค่ 1,000 ล้านตัวในปี 2021 นักวิทยาศาสตร์ระบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการประมงที่จับปูมากเกินไป และที่สำคัญเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่อุ่นขึ้นจากภาวะโลกร้อน โดยอุณหภูมิรอบๆ อาร์กติกอุ่นขึ้นเร็วกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกถึง 4 เท่า ทำให้ภูมิภาคอาร์กติกสูญเสียน้ำแข็งในทะเลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทะเลแบริ่งของอลาสก้า จากการสำรวจระหว่างปี 2021- 2022 ปูหิมะเพศผู้ที่โตแล้วลดลงประมาณ 40% ซึ่งปูหิมะเป็นสายพันธุ์น้ำเย็น และพบได้มากในพื้นที่ที่อุณหภูมิของน้ำต่ำกว่า …

Copyright @2021 – All Right Reserved.