Climate Change

  • หายนะของท้องทะเลไทยเมื่ออุณหภูมิสูงถึง 38 องศาเซลเซียส! การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 40,000 ล้านตันต่อปี เป็นปัจจัยทำให้อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงเกิน 1.5 องศาฯ ถ้าไม่หยุดทำร้ายโลกตั้งแต่วันนี้ ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งหนักหน่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต เช่น เกิดภัยพิบัติรุนแรงขึ้น บ่อยขึ้น สัตว์บกสัตว์น้ำตาย เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ผู้คนแย่งชิงทรัพยากร และเกิดความโกลาหลที่คาดเดาไม่ได้ไปทั่วโลก โดยที่คนรุ่นลูกรุ่นหลานจะต้องเป็นผู้แบกรับ

  • ภัยพิบัติมากกว่า 11,000 กรณีทั่วโลกที่เกิดขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 2 ล้านคน สร้างความเสียหายมากถึง 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่า 91% ของการเสียชีวิตเกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้น้อย โดยภัยจากความแห้งแล้งสร้างหายนะรุนแรงมากที่สุด ตัวเลขผู้เสียชีวิตและหายนะที่เกิดขึ้นในช่วง 50 ปีที่ผ่านมามีคำตอบที่บ่งชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในวิกฤต โดยเฉพาะจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทุกประเทศต่างฝากความหวังไว้กับการประชุม “COP26” หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564

  • เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า GC ผู้ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีที่มีการผสมผสานนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เป็นบริษัทปิโตรเคมีแรกของไทยที่ติดอันดับ 1 ของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) 3 ปีซ้อนในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ด้วยการดำเนินธุรกิจที่บูรณาการความยั่งยืน …

  • ต้นไม้คือเครื่องฟอกอากาศตามธรรมชาติของโลก ดังนั้นถ้าเราคิดว่าตัวเองก็มีหน้าที่ในการกอบกู้โลก การวางเป้าปลูกต้นไม้ “1 ล้านล้านต้น” ก็ไม่สายเกินไปในการหยุดวิกฤตโลกร้อน โดยเฉพาะคนกลุ่มหนึ่งเชื่อมั่นว่า ป่าจำนวนมหาศาลนี้จะช่วยกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 200 กิกะตัน หรือท่ากับการปล่อยมลพิษจากรถยนต์มากกว่า 43,000 ล้านคันต่อปี

  • รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์ ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สังกัดหน่วยปฏิบัติการวิจัยระบบการจัดการแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงแนวโน้มสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตว่า เนื่องจากประเทศไทยยังอยู่ในเขตมรสุม และเป็นที่ลุ่มโดยเฉพาะเมืองใหญ่ จึงมีแนวโน้มการเกิดน้ำท่วมที่รุนแรงมากขึ้น การแก้ไขปัญหาควรนำแนวคิดการบริหารความเสี่ยงเข้ามาประกอบการวางแผนและดำเนินการ โดยจัดทำผังความเสี่ยง ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ น้ำท่วมแบบรอระบาย พื้นที่ต่ำ พื้นที่ริมน้ำ พื้นที่สำคัญ ตามลักษณะการใช้พื้นที่ในเมีองใหญ่ เมืองรอง …

  • “ปี 2565 ไทยจะต้องเลิกใช้หรือแบนพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเพิ่มอีก 4 ชนิด ประกอบด้วย 1. ถุงหูหิ้วขนาดหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน 2. หลอด 3.กล่องโฟมบรรจุอาหาร และ 4.แก้วพลาสติกแบบบาง เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกลง “ซึ่งจะทำให้ไทยในปี 2565 มีการบังคับให้เลิกใช้พลาสติกเพิ่มเติมรวมเป็น 7 ชนิด และขณะนี้มีหลายประเทศทั่วโลกได้บังคับห้ามใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง แม้ว่าช่วงโควิด-19 จะแผ่วไปบ้าง แต่ล่าสุดจีนก็ประกาศห้ามใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งใน 5 เมืองใหญ่ในปีนี้” นายวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย …

Copyright @2021 – All Right Reserved.