ภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรง หากไม่มีการรับมืออย่างจริงจัง พื้นที่เหล่านี้อาจจมน้ำภายในปี 2050 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ภาวะโลกร้อนกำลังสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2025–2029 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้น 1.2 …
กัดเซาะชายฝั่ง
รองนายกฯ “ประเสริฐ จันทรรวงทอง” ลงพื้นที่ จ.สมุทรปราการ รับฟังรายงานการกัดเซาะชายฝั่งตั้งแต่ทศวรรษ 2520 และระดับน้ำทะเล ที่อาจพุ่งถึง 1 เมตรในปี 2100 สั่งกระทรวงทรัพยากรฯ เร่งแผนแม่บท หวังลดผลกระทบเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม วันที่ 6 มิถุนายน 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี …
“ทักษิณ” หยิบยกนโยบายถมทะเลบางขุนเทียนสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยผลักดัน เพื่อสร้างเป็นพื้นทีเขียว แก้น้ำท่วมกรุงเทพฯ รองรับน้ำทะเลสูงขึ้น
ภาพกำเเพงกันคลื่นตามแนวชายฝั่งของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนเป็นที่ประจักษ์ถึงปรากฎการณ์แพร่ระบาดของกำเเพงกันคลื่นอย่างรุนเเรง จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า การใช้โครงสร้างดังกล่าวสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วปัญหานี้สามารถหาแนวทางอื่นรับมือสถานการณ์พังทลายของชายหาดที่กำลังเกิดขึ้นได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “กำเเพงกันคลื่น”