จีนกักน้ำโขงตอนบนไว้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตลอดทั้งปี และเลือกปล่อยน้ำจากเขื่อนตามอารมณ์ ทำให้ประเทศอาเซียนด้านล่างเผชิญภาวะแล้งจัด งานวิจัยล่าสุดจากกลุ่มนักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันยืนยันหลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกว่าจีนควบคุมระดับน้ำของแม่น้ำโขงให้ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐวิสาหกิจของจีนได้สร้างเขื่อนหลายแห่งเพื่อกั้นแม่น้ำโขง ทีมวิจัยจึงเทียบระดับน้ำกับภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงระยะเวลาปฏิบัติการของเขื่อนเหนือแม่น้ำโขง ซึ่งตามปกติแล้วถ้าจีนแล้ง ประเทศใต้น้ำก็ต้องแล้ง ถ้าจีนมีน้ำมากประเทศใต้น้ำก็จะมีน้ำมาก แต่หลังจากจีนสร้างเขื่อนเรื่องแบบนี้ก็เริ่มไม่ปกติ ทีมวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับน้ำที่ลดลงที่วัดได้ที่เชียงแสนและสภาพของแม่น้ำโขงจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงปีแรกๆ ที่จีนเริ่มสร้างเขื่อน สถานการณ์ชัดเจนอย่างมากช่วงที่จีนเริ่มเติมน้ำโขงเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ Manwan และ Dachaoshan ระดับน้ำที่วัดได้และการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงลดลงหลังอย่างชัดเจน หลังจากปี 2555 เมื่อมีการสร้างเขื่อนใหญ่และอ่างเก็บน้ำสองแห่งซึ่งจำกัดปริมาณและเวลาของน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างมาก รัฐบาลจีนตั้งใจใช้เขื่อนเหล่านี้เพื่อควบคุมการไหลของกระแสน้ำ …
News
-
-
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ องค์การนาซาเปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณประเทศจีนแสดงให้เห็นว่าระดับมลพิษลดลงอย่างมาก คาดว่าเป็นเพราะหลังจากการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่คนจีนถูกกัก ถูกปิดเมือง ถูกสั่งห้าม ทำให้ต้องหยุดความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ รวมถึงจักรกลในโรงงาน การขนส่ง การเดินทางลดลงเหมือนกับไม่มีผู้คนอาศัยในจีนเลย
-
ทุกอย่างมีขอบเขตของมัน มีเส้นที่ขีดไว้ไม่ให้ล้ำ เหมือนความสัมพันธ์ของคน ถ้าล้ำเส้นขึ้นมาก็อยู่กันไม่ได้ โลกของเราก็เหมือนกัน มีเส้นหลายเส้นที่ถูกตีขึ้่นเพื่อเตือนให้มนุษยชาติระมัดระวังตัวไม่ให้ทำอะไรล้ำขอบเขต เส้นเตือนของโลกที่ตีขึ้นเพื่อมิให้มนุษย์อย่างเราล่วงล้ำ เรียกว่า Planetary boundaries
-
เหตุการณ์หิมะตกในกรุงแบกแดดของอิรักเป็นผลพวงจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นปรากฎการณ์นับ 100 ปีที่เกิดหิมะตกจนทำให้เมืองขาวโพลนไปด้วยละอองสีขาว ซึ่งผู้คนต่างออกจากบ้านมาเล่นหิมะกันด้วยความตื่นตาสนุกสนาน
-
The Climate Change Performance Index 2020 หรือดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2563 ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 25 ที่กรุงมาดริด สเปน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 2562
-
แม้การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP 25) จะต้องย้ายสถานที่ประชุมอย่างกะทันหันจากกรุงซานดิอาโก ประเทศชิลีไปประชุมกันที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน แต่กำหนดการยังคงเป็นไปตามเดิม คือระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม พ.ศ. 2562 วาระการประชุมต่าง ๆ ก็ยังคงเดินหน้าตามแผนการเดิม รวมทั้งชีลียังทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพเหมือนเดิม
-
โดย – ปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. เรื่องพลังงานนั้น บ้านเรายังคงวนไปวนมากับเรื่องราคาน้ำมันว่าถูกว่าแพงกว่าเพื่อนบ้าน บางกลุ่มก็เสนอแบบง่าย ๆ ว่าราคาน้ำมันของบ้านเราต้องเท่ากับราคาน้ำมันของประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง ๆ ที่บริบททางเศรษฐกิจ สภาพทางกายภาพ ระบบกฎหมาย และอื่น ๆ แตกต่างกันลิบลับ นับว่าแปลกมากที่มีการรณรงค์แบบนี้ด้วย
-
ชีวนวัตกรรม หรือ Synthetic Biology เป็นศาสตร์ใหม่ที่ทางอออกหนึ่งจะช่วยกอบกู้โลก เพราะหากมนุษย์ยังคงผลิตและบริโภคอย่างสุดโต่งโดยไม่ใส่ใจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถึงจะมีโลกอีกกี่ใบก็คงไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะการบริโภคแบบไร้ขีดจำกัดที่เป็นต้นเหตุทำให้โลกร้อน ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวปาฐกถาหัวข้อ “ทำไมต้อง Syn Bio” ในงานเสวนา …
-
การจัดการที่ดินที่ดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ แต่ไม่ใช่ทางออกเดียว เพราะการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทุกภาคส่วนมีความสำคัญ หากต้องการรักษาภาวะโลกร้อนไม่ให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 องศาเซลเซียส
-
คอลัมน์ I Green Talk นัดคุยกับ “ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์” เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ขุนพลที่ทำงานเคียงข้างรัฐมนตรีว่าการ ทส. “วราวุธ ศิลปอาชา” ซึ่งเวลานี้ต้องบอกว่าเป็นรัฐมนตรีที่มีผลงานเข้าตาและโดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่ง