Climate Change

  • ยูนีซ นิวตัน ฟุท ได้นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ American Association for the Advancement of Science (AAAS) ในปี พ.ศ. 2399 โดยได้ตั้งทฤษฎีว่า การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะทำให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไป เท่ากับเป็นการค้นพบภาวะเรือนกระจก และภาวะโลกร้อนครั้งแรกอย่างที่เรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้นั่นเอง ยูนีซ นิวตัน ฟุท (Eunice Newton Foote) เกิดเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2362 …

  • สำหรับคนไทยทั่วไปอุณหภูมิ 19.4 องศาเซลเซียสถือว่าหนาวมากแล้ว แต่สำหรับดินแดนใกล้ขั้วโลกเหนืออย่างอะแลสกา อุณภูมิขนาดนี้ในฤดูหนาวแบบนี้ ต้องถือว่าเป็นสัญญาณของหายนะเลยทีเดียว สถิติที่น่าตกใจนี้เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะอากาศอบอุ่นในฤดูหนาวที่ไม่ปกติในอะแลสกา ทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันพุ่งสูงกว่า 15.5 องศาเซลเซียส และมีฝนตกหนักซึ่งปกติแล้วมันควรจะมีอากาศหนาวเย็น และมีหิมะตกต่างหาก ที่ชุมชนเกาะโคไดแอก อุณหภูมิวัดได้ที่ 19.4 องศาเซลเซียสในวันอาทิตย์ ถือเป็นสถิติสูงสุดในเดือนธันวาคมที่เคยบันทึกไว้ในอะแลสกา นักวิทยาศาสตร์ถึงกับบอกว่า “นี่มันบ้าไปแล้ว” ตามปกติแล้วเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนที่อากาศแห้ง และหนาวจัด อย่างที่เรารู้ ๆ กันว่าอะแลสกาหนาวแค่ไหนในช่วงฤดูหนาว แต่ตอนนี้มันมีอุณภูมิเท่ากับฤดูร้อนในซีกโลกเหนือทั่ว ๆ ไป แถมยังมีฝนตกหนักด้วย เทียบกันชัด ๆ …

  • เจ้าสิ่งที่ดูเหมือนหม้อไฟต้มยำนี้คือ The Cocoon ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ แต่มันไม่ได้อ่อนแอเลย เพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ต้นกล้าไม้ที่นำไปปลูกในป่าเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายที่สุด The Cocoon เป็นของบริษัท Land Life Company ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องต้นกล้าตลอดปีแรก โดยให้น้ำและที่กำบังพร้อมทั้งกระตุ้นต้นกล้าให้โครงสร้างรากแข็งแรงและลึก ไม่ต้องพึ่งพาการให้น้ำจากภายนอก ตอนแรก The Cocoon ดูไม่เหมือนหม้อไฟต้มยำ หรือที่ผู้พัฒนาบอกว่ามันเหมือนโดนัท ตอนแรกมันจำลองแบบมาจากหม้อดินที่ใช้ในอารยธรรมเมโสโปเตเมียโบราณ ย้อนกลับไปในสมัยนั้น พวกชาวเมโสโปเตเมียเคยล้อมต้นไม้ หรือต้นอ่อนด้วยกระถางดินเผาสามกระถาง เติมน้ำให้เต็มกระถางที่จะอยู่ได้หลายวัน หรือหลายสัปดาห์ การออกแบบอันชาญฉลาดนี้ก็คือระบบให้น้ำต้นไม้แบบน้ำหยดที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาครั้งแรก ๆ ของโลก อย่างไรก็ตาม …

  • วาตนาเยอคูตล์ (Vatnajökull) เป็นครอบน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในไอซ์แลนด์ และใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ 8,100 ตร. กม. หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของประเทศ ธารน้ำแข็งมีความหนาเฉลี่ย 400 ม. มีความหนาสุด 1,000 ม. ฟังดูแล้วมันเป็นแหล่งน้ำแข็งที่น่าจะมั่นคงดี แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ธารน้ำแข็งในไอซ์แลนด์กำลังละลายเร็วกว่าที่มันสามารถฟื้นตัวได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ตั้งกล้องเอาไว้ และสามารถจับภาพอัตราการละลายของน้ำแข็งที่น่าตกใจ ในช่วงฤดูร้อนปีนี้ (มิถุนายน – สิงหาคม) …

Copyright @2021 – All Right Reserved.