ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) แถลงข่าวการเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ประจำปี 2566 โดยกล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 มักเกิดขึ้นในช่วงปลายปีและต้นปี จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ช่วงต้นปี 66 จะมีความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ฝุ่นละออง PM2.5 เกิดการสะสม ซึ่งถือว่าสภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่คาดว่าฝุ่นละออง PM2.5 จะมีค่าเกินมาตรฐานมากกว่าในปีก่อน
Air Pollution
‘บ้านก้อแซนบ็อกซ์’ โมเดลแก้ฝุ่น
ปรับวิถีปลูกเห็ดใกล้บ้านสร้างรายได้
เมื่อปากท้องอิ่มชาวบ้านเลิกเผาป่า
เหตุการณ์ไฟป่าในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือที่เกิดขึ้นประจำทุกปีและต่อเนื่องมากว่า 10 ปี กลายเป็นโจทย์ระดับชาติที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะหาทางจบลงได้ ทว่าที่บ้านก้อ จ.ลำพูน กลับมีโมเดลการแก้ปัญหาที่น่าสนใจ โดยเมื่อปีในปี 2562 ชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ใช้ข้อมูลเซนเซอร์โมดิสสำรวจพื้นที่พบว่า เกิดไฟไหม้ที่บ้านก้อ 2 แสนกว่าไร่ และเป็นปีที่เกิดไฟไหม้สูงสุด จากพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ปิง 6 แสนกว่าไร่
ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 กว่า 7 หมื่นคน (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) และมลพิษอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดเลือดในสมอง หัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด และติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ฯลฯ การสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปทุกจึงเสมือนการตายผ่อนส่ง
อุปสรรคแก้ฝุ่นพิษกรุงเทพฯ-ปริมณฑล
นโยบายไม่ต่อเนื่องติดปัญหาเชิงโครงสร้าง
นโยบายการแก้ปัญหามลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ทั้งภาครัฐและเอกชนอาจดูมีมุมมองที่แตกต่าง ทำให้เห็นได้ว่าทิศทางการแก้ปัญหายังไม่สอดคล้องกัน แม้จะมีกฎหมายมากพอในการใช้บังคับ มีองค์ความรู้ทางวิชาการที่หลากหลาย แต่ในสภาพความเป็นจริงสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในเมืองหลวงและจังหวัดโดยรอบยังอยู่ในระดับที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน
แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เมืองกรุง
ซับซ้อน-ต้นทุนสูง-ตายปีละ 5 หมื่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นเรื่องยากต่อการอธิบาย สร้างความเข้าใจ และความตระหนักต่อประชาชน โดยเฉพาะภัยคุกคามจากมลพิษอากาศ อย่างเช่นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือฝุ่น PM2.5 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า แต่ละปีในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรร่วม 5 หมื่นคน และมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มูลค่า 8-9 แสนล้านบาท
ไทยยกระดับคุณภาพอากาศ
37.5 มคก./ลบ.ม. เทียบเท่าอเมริกา ยุโรป
เริ่มบังคับใช้ 1 มิ.ย. 66
ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2566 ประเทศไทยจะปรับค่าเฉลี่ยมาตรฐานฝุ่น PM2.5 ราย 24 ชั่วโมงใหม่ จากเดิมอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. ลดลงเป็น 37.5 มคก./ลบ.ม.และค่าเฉลี่ยรายปีจากเดิม 25 มคก./ลบ.ม. ปรับลดลงเป็น 15 มคก./ลบ.ม. โดยจะมีผลบังคับใช้หลังลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรืออีกประมาณ …
มีอาชีพหนึ่งกำลังมาแรงและทำรายได้อย่างงามในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นั่นคือ “idling warriors” หรือ “นักรบจับรถปล่อยควัน” ซึ่งจะคอยจับตาว่ายานพาหนะคันไหนที่ละเมิดกฎหมายด้านมลพิษของเมือง เมื่อพบแล้วก็จะถ่ายคลิปส่งเจ้าหน้าที่