หมู่เกาะโทคาระ จังหวัดคาโกชิมะ ญี่ปุ่น เผชิญแผ่นดินไหวต่อเนื่องกว่า 1,031 ครั้งตั้งแต่ 21 มิ.ย. 68 ล่าสุดรุนแรงระดับ 6- สถานกงสุลใหญ่ ณ ฟูกูโอกะ แจ้งเตือนคนไทยเตรียมพร้อมอพยพ ทางการญี่ปุ่นสั่งอพยพประชาชนเกาะอาคุเซกิเพื่อความปลอดภัย วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 – …
ภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อกรุงเทพฯ และสมุทรปราการ ด้วยระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรง หากไม่มีการรับมืออย่างจริงจัง พื้นที่เหล่านี้อาจจมน้ำภายในปี 2050 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ภาวะโลกร้อนกำลังสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2025–2029 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้น 1.2 …
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกชี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้คลื่นความร้อนรุนแรงและถี่ขึ้น โดยเฉพาะในยุโรปที่กำลังเผชิญอุณหภูมิสูงผิดปกติ เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเตรียมพร้อมรับมือเพื่อลดความสูญเสีย เจนีวา (1 ก.ค.) – องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า โลกต้องเรียนรู้ที่จะรับมือกับคลื่นความร้อน เนื่องจากยุโรปส่วนใหญ่กำลังเผชิญอุณหภูมิสูงในช่วงฤดูร้อน โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ จะทำให้คลื่นความร้อนเกิดบ่อยและรุนแรงขึ้นในอนาคต แคลร์ นูลลิส โฆษก WMO กล่าวว่า เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในซีกโลกเหนือ และการเกิดคลื่นความร้อนในช่วงต้นฤดูร้อนถือเป็นเรื่องผิดปกติ …
รายงาน Fuel to Fork: What Will it Take to Get Fossil Fuels Out of Our Food Systems? เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2568 โดย …
“เอเชียร้อนจัด” รุนแรงเกือบสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลก ส่งผลให้เกิดคลื่นความร้อน พายุ และภัยแล้ง คุกคามความมั่นคงด้านอาหาร ระบบนิเวศ และเศรษฐกิจ เอเชีย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก กำลังเผชิญวิกฤตสภาพอากาศที่รุนแรง อุณหภูมิในภูมิภาคนี้สูงขึ้นเกือบสองเท่าของค่าเฉลี่ยโลก ตามรายงานสถานะสภาพอากาศในเอเชียปี 2024 โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) หน่วยงานของสหประชาชาติ ระบุว่า ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีที่ร้อนที่สุด หรือร้อนเป็นอันดับสองในประวัติการณ์ของทวีป ขึ้นอยู่กับชุดข้อมูล โดยอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้น …
“หิ่งห้อยเบธานีบีช” เผชิญภัยคุกคามจากมลพิษทางแสง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และการพัฒนาชายฝั่ง ส่งผลให้ประชากรลดลงอย่างน่าใจหาย รัฐบาลสหรัฐฯ เสนอขึ้นบัญชีสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เพื่อปกป้องสายพันธุ์นี้ หิ่งห้อยเบธานีบีช (Photuris bethaniensis) เป็นแมลงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ด้วยแสงวาบสีเขียวสองครั้ง ซึ่งพบได้ในพื้นที่ชุ่มน้ำน้ำจืดระหว่างเนินทราย (interdunal swales) ตามแนวชายฝั่งของเดลาแวร์ แมริแลนด์ และเวอร์จิเนีย อย่างไรก็ตาม หิ่งห้อยสายพันธุ์นี้กำลังเผชิญกับภัยคุกคามร้ายแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลภาวะทางแสง และการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง …