ปัจจุบันมีสถานที่กว่า 150 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมเป็น “เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดสากล” ซึ่งนอกจากจะเป็นการรณรงค์ให้เกิดการลดมลภาวะทางแสงที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สุขภาพของมนุษย์ และการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังมีส่วนช่วยอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดยามค่ำคืนให้คงความสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และเชิงดาราศาสตร์ สร้างรายได้ และกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในสถานที่นั้นอีกด้วย
Editor’s Pick
เผยภาพหาชมได้ยากผลงานจากกล้องที่ติดตั้งไว้ในอุทยานแห่งชาติแซร์รา โดส ออร์เกาส์ (Serra dos Órgãos) ในป่าแอตแลนติกทางตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลสามารถจับภาพของเสือพูม่า หรือคูการ์ที่มีขนสีขาวทั้งตัว โดยภาพถ่ายดังกล่าวถ่ายในปี 2556 เป็นครั้งแรกที่ได้รับการยืนยันว่าพบสิงโตภูเขาที่มีอาการ Leucism (ลูซิซึ่ม) ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีขาว หรือที่เรียกกันว่าสัตว์เผือกนั่นเอง ภาพนี้เพิ่งจะได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างเมื่อเร็วๆ นี้ผ่านทาง National Geographic
ดัชนีคุณภาพอากาศของเชียงใหม่ในปี 2562 มีความรุนแรงของมลพิษติดอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการเผาวัสดุทางการเกษตรจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยเฉพาะข้าวโพด ซึ่งจากการประเมินพบว่ามีปริมาณซังข้าวโพดเหลือทิ้ง จำนวน 1.2 ล้านตัน/ปี เปลือกข้าวโพด จำนวน 3.1 แสนตัน/ปี หรือคิดเป็น 25% ของผลผลิต (สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2560) การเผาป่าเพื่อหาของป่า และเกิดลุกลามไหม้เข้าไปยังพื้นที่ป่าจนไม่สามารถควบคุมไม่ได้
โจทย์ใหญ่ของฝุ่นควันภาคเหนือก็คือ “มายาคติ” กล่าวคือรัฐชูนโยบาย Zero Burning พร้อม ๆ กับการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงตกเป็นจำเลยของสังคมว่าเป็นคนเผาและไม่ยอมเลิกเผา โดยเฉพาะการใช้ไฟสำหรับการหาของป่าและล่าสัตว์ จึงเป็นที่มาของการชูประเด็นให้ชาวบ้านเลิกใช้ไฟเด็ดขาด
อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิชาการด้านชายฝั่งทะเลที่เกาะติดเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่องยาวนานและอยู่ในคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ยืนยันว่าเขาไม่เห็นด้วยกับกำแพงกันคลื่น โดยมี “เหตุผล 10 ประการของคนไม่เอากำแพงกันคลื่น” สนับสนุน ดังนี้
• เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2563ทางการเมืองอู่ฮั่นออกคำสั่งห้ามกินเนื้อสัตว์ป่าและมีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายที่ดี (ที่อาจจะช้าไปสักหน่อย) สำหรับเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ • แต่คำสั่งของอู่ฮั่นมีระยะเวลาดำเนินการแค่ 5 ปีแล้วจะค่อยยทบทวนอีกครั้ง ซึ่งหมายความว่าหลังจากนั้น 5 ปีถ้าเรื่องซาลงแล้ว อู่ฮั่นก็อาจจะกลับมากินเนื้อสัตว์ป่ากันอีก
ผมได้ยินถึงความงามของแม่น้ำโขงครั้งแรกเมื่อนานมาแล้วก่อนที่จะย้ายมาอยู่เอเชีย ชาวอเมริกันและชาวไทยต่างให้ความเคารพแม่น้ำในประเทศของเราเหมือนกัน ผมเติบโตขึ้นใกล้กับแม่น้ำมิสซิสซิปปี ซึ่งมีบทบาทอย่างมากในขนบประเพณีของอเมริกา และเป็นเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจตลอดประวัติศาสตร์ของเรา ในภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกันที่ตั้งชื่อแม่น้ำสายนี้ “มิสซิสซิปปี” หมายถึง “บิดาแห่งสายน้ำ” ส่วนคำว่า “แม่น้ำ” ในภาษาไทย หมายถึง “มารดาแห่งสายน้ำ” อันสะท้อนถึงสายสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง
จีนกักน้ำโขงตอนบนไว้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ตลอดทั้งปี และเลือกปล่อยน้ำจากเขื่อนตามอารมณ์ ทำให้ประเทศอาเซียนด้านล่างเผชิญภาวะแล้งจัด งานวิจัยล่าสุดจากกลุ่มนักอุตุนิยมวิทยาชาวอเมริกันยืนยันหลักฐานอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรกว่าจีนควบคุมระดับน้ำของแม่น้ำโขงให้ระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐวิสาหกิจของจีนได้สร้างเขื่อนหลายแห่งเพื่อกั้นแม่น้ำโขง ทีมวิจัยจึงเทียบระดับน้ำกับภาพถ่ายดาวเทียม รวมถึงระยะเวลาปฏิบัติการของเขื่อนเหนือแม่น้ำโขง ซึ่งตามปกติแล้วถ้าจีนแล้ง ประเทศใต้น้ำก็ต้องแล้ง ถ้าจีนมีน้ำมากประเทศใต้น้ำก็จะมีน้ำมาก แต่หลังจากจีนสร้างเขื่อนเรื่องแบบนี้ก็เริ่มไม่ปกติ ทีมวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างระดับน้ำที่ลดลงที่วัดได้ที่เชียงแสนและสภาพของแม่น้ำโขงจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงปีแรกๆ ที่จีนเริ่มสร้างเขื่อน สถานการณ์ชัดเจนอย่างมากช่วงที่จีนเริ่มเติมน้ำโขงเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ Manwan และ Dachaoshan ระดับน้ำที่วัดได้และการไหลตามธรรมชาติของแม่น้ำโขงลดลงหลังอย่างชัดเจน หลังจากปี 2555 เมื่อมีการสร้างเขื่อนใหญ่และอ่างเก็บน้ำสองแห่งซึ่งจำกัดปริมาณและเวลาของน้ำที่ปล่อยออกมาอย่างมาก รัฐบาลจีนตั้งใจใช้เขื่อนเหล่านี้เพื่อควบคุมการไหลของกระแสน้ำ …
การระบาดของโควิด-19 ทำให้กิจกรรมของมนุษย์หยุดนิ่ง การปล่อยมลพิษลดลง ท้องฟ้าสะอาดขึ้น ถนนไม่มีควัน สิงสาราสัตว์ออกมาเพ่นพ่านในเมือง เหมือนกำลังทวงคืนบ้านของพวกมันคืนจากมนุษย์
โดย – สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในเดือนมีนาคมถึงเมษายนของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาที่นกเงือกเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์ โดยนกเงือกเริ่มจับคู่และเสาะหาโพรงรังที่เหมาะสมเพื่อให้ตัวเมียออกไข่-ฟักไข่ ทว่าแม้ในป่าฮาลา–บาลา อ.แว้ง จ.นราธิวาส ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์อย่างมาก สัตว์โบราณอย่างนกเงือกยังต้องเผชิญภาวะ ‘การขาดแคลนโพรงรัง’ หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรนกเงือกลดลง