มีเสียงวิจารณ์กันให้แซดว่าไฟป่าที่เชียงใหม่เลวร้าย เพราะรัฐราชการรวมศูนย์ รวบอำนาจสั่งการจากส่วนกลางทำให้แก้ปัญหาล่าช้า มีเสียงเรียกร้องให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจดูแลตัวเองมากขึ้นเพื่อจะได้จัดการไฟป่าได้รวดเร็วทันท่วงที
Editor’s Pick
รู้หรือไม่ว่า คนที่ร่ำรวยที่สุดในโลก คิดเป็นสัดส่วนประชากรของทั่วโลกแค่ 10% โดยคนเหล่านี้ควรต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษทั่วโลกถึง 50% หรือประมาณครึ่งหนึ่ง ในจำนวนนี้คนกลุ่มที่กุมความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของโลกเอาไว้มีเพียงแค่ 1% การกอบโกยของพวก 1% ทำให้การผลาญทรัพยากรมากขึ้น เมื่อผลาญมากขึ้นสิ่งแวดล้อมโลกก็สั่นคลอนมากขึ้น
นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เขียนบทความลงในเพจ บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune เมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา มีเนื้อหาระบุว่า ถ้านักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักอุตุนิยมวิทยา วิศวกร ร่วมมือช่วยกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 คงจะดีไม่น้อย
ปัญหา PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กเริ่มส่อเค้าระดับความรุนแรงที่อาจไม่แตกต่างจากปีที่แล้ว (ปลายปี 2561 ต่อเนื่องต้นปี 2562) โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและกรุงเทพฯ ที่เริ่มเห็นสัญญาณก่อตัวขึ้นบ้างแล้ว ในขณะที่แผนการรับมือยังดำเนินไปในลักษณะตั้งรับแบบเดิมๆ เดโช ไชยทัพ ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในฐานะผู้คลุกคลีอยู่กับปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่อง อธิบายว่า จากประสบการณ์ฝุ่นควันภาคเหนือที่รุนแรงขึ้นเมื่อปี 2561 ต่อเนื่อง 2562 มี 2 ด้าน
Synthetic Biology หรือ ชีวนวัตกรรม ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มานานพอสมควร เช่น การผลิตวัคซีนบางชนิด หรือการผลิตอินซูลินสำหรับโรคเบาหวาน โดยปัจจุบันเริ่มมีการพูดถึงมากขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากเป็นศาสตร์ที่ตอบโจทย์ตรงความต้องการผู้บริโภคมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจความหมายในเชิงหลักการมากขึ้น “ชีวนวัตกรรม” คือการผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์เข้ากับชีววิทยา หรือการนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเข้าไปผสานกับเทคโนโลยีการเลี้ยงจุลินทรีย์ เพื่อให้ใช้จุลินทรีย์เป็นเสมือนโรงงานในการผลิต หรือสังเคราะห์ผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่เราต้องการ แทนการพึ่งพากระบวนการผลิตตามธรรมชาติที่อาจใช้เวลาและทรัพยากรที่มากกว่า
รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า ผลงานวิจัยของคณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล จากสถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาลัยวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 เรื่อง มีดังนี้ 1) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสดจำนวน 165 ตัวอย่าง และ 2) จากการศึกษาโดยการเก็บตัวอย่างปลาเศรษฐกิจที่วางจำหน่ายในตลาดสด
รศ.ดร.ประวิทย์ โตวัฒนะ คณะวิจัยการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในทะเล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เปิดเผย igreen ว่า นักศึกษาของสถาบันฯ ได้ทำการวิจัยเรื่องไมโครพลาสติกมาก่อนจะมีข่าวพบไมโครพลาสติกในปลาทูของไทย โดยก่อนหน้านี้นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรการจัดการทางทะเลและชายฝั่ง ชาวบังคลาเทศของสถาบันฯ ศึกษาพบไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาเศรษฐกิจของอ่าวไทยหลายชนิดมากกว่าหนึ่งของตัวอย่าง ซึ่งเป็นปลาที่จำหน่ายอยู่ในตลาดของ อ.สทิงพระ จ.สงขลา และงานวิจัยชิ้นดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศไป เมื่อปี 2561
กลุ่มนักอนุรักษ์วางแผนระดมทุนซื้อสวนป่าซีคัวยา (Sequoia) ซึ่งเป็นต้นไม่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มูลค่ากว่า 400 ล้านบาท บนที่ดินเอกชนเพื่อปกป้องระบบนิเวศจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซีคัวยาพืชตระกูลสนสายพันธุ์เรดวู้ด (Redwood) ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ถือกำเนิดมาตั้งแต่ยุคจูราสสิคจากการค้นพบฟอสซิลที่มีอายุมากกว่า 200 ล้านปี
หน้าที่ของนักวิจัยนกบนเทือกเขาบูโดคือขึ้นภูเขาไปเก็บข้อมูล ซ่อมแซมโพรงรัง สร้างโพรงเทียม ถ่ายภาพ ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินการอยู่ อาทิ โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก ฯลฯ เป็นการทำงานร่วมกับชาวบ้านในฐานะผู้ช่วยวิจัย นี่คืองานประจำของ ปรีดา เทียนส่งรัศมี นักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือที่นักอนุรักษ์และผู้สนใจเรื่องการอนุรักษ์นกมักเรียกเขาในนาม “ปรีดา บูโด”
เสน่ห์ของ “ตลาดโอ๊ะป่อย” ไม่ได้อยู่ที่การได้มาจับจ่ายซื้อสินค้าเหมือนตลาดอื่น ๆ ทั่วไป ทว่าเป็นตลาดริมน้ำขนาดย่อมที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ สัมผัสได้ถึงความเป็นกันเองของพ่อค้าแม่ขาย และโดดเด่นในแง่การรักษาความสะอาด โดยมีเด็กนักเรียนตัวน้อย ๆ คอยเดินเก็บและหิ้วถังขยะไปคัดแยกอยู่เป็นระยะ ๆ