ประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่อันดับที่ 21 ของโลก โดยในปี 2019 ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 354 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และคาดว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดเท่ากับ 368 ล้านต้นคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2025 เพื่อเข้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) …
Thaimediafund
หนึ่งในตัวอย่างคนออกแบบการใช้ชีวิตให้ “สมดุล” อย่าง พสุธ รัตนบรรณางกูร หรือ “พี่โพ” ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างลงตัว เขากับคู่ชีวิต “หนูดี” วนิษา เรซ มีไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกันเพราะกินแพลนต์ เบส เหมือนกัน แต่ทั้งคู่ก็บอกกับตัวเองว่า จะไม่ตึง ไม่หย่อนเกินไป และไม่จำเป็นต้องใช้ชีวิตเป๊ะกับทุกเรื่อง
โรงเรียนวนิษาตั้งอยู่สุขุมวิท 26 ใจกลางกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนในเมือง แต่มีพื้นที่สีเขียวค่อนข้างเยอะ ทั้งที่ปากซอยคือห้างเอ็มโพเรียมและเอมควอเทียร์ เด็กนักเรียนที่นี่มีอาหารแพลนต์ เบส กิน แต่ไม่ได้บังคับรับประทานทั้งโรงเรียน เพราะเสิร์ฟอาหารหลากหลาย แค่ให้กินแพลนต์ เบส สัปดาห์ละ 1 วัน และเป็นการเสิร์ฟโดยไม่ได้บอกว่าคืออะไร
‘เกษตรฟื้นฟู’ ตัวจริง Carbon Neutral กักเก็บคาร์บอนมากกว่าป่าปลูก
เกษตรกรรมฟื้นฟูมีมานานมากแล้วเพราะเป็นเกษตรตามธรรมชาติซึ่งตรงกันข้ามกับระบบเกษตรในปัจจุบันที่พึ่งพาสารเคมี หรือเป็นเกษตรอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นปริมาณมากกว่าความปลอดภัยของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
“เปลี่ยนขยะอาหารให้เป็นทุน มันช่วยลดค่าใช้จ่าย..ถ้าเราทำ แต่ถ้าไม่ทำมันจะเป็นทุนทางสิ่งแวดล้อม” เชฟโบ-ดวงพร ทรงวิศวะ เจ้าของร้านอาหารโบ.ลานกล่าว ขณะเล่าถึงแนวคิดและวิธีการเปลี่ยนปลายทางขยะเศษอาหารจากหลุมฝังกลบที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกไปเป็นทุน
ปี2566 ประเทศไทยมีขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 26.95 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ราว 1.25 ล้านตัน พบเป็นสัดส่วนของขยะอาหารมากถึงร้อยละ 39 คิดเป็นปริมาณ 9.68 ล้านตันต่อปี หรือเทียบเท่าประชากร 1 คน ผลิตขยะอาหาร 146 กิโลกรัมต่อคนต่อปี
ภาพกำเเพงกันคลื่นตามแนวชายฝั่งของประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันตลอดช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา สะท้อนเป็นที่ประจักษ์ถึงปรากฎการณ์แพร่ระบาดของกำเเพงกันคลื่นอย่างรุนเเรง จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า การใช้โครงสร้างดังกล่าวสามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้จริงหรือไม่ หรือแท้จริงแล้วปัญหานี้สามารถหาแนวทางอื่นรับมือสถานการณ์พังทลายของชายหาดที่กำลังเกิดขึ้นได้ดีกว่า โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพา “กำเเพงกันคลื่น”
ใคร ๆ คงรู้จัก ก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และหลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า เราทุกคนต้องช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจก แต่จะช่วยอย่างไรเล่า หรือจะให้เราเริ่มต้นจากตรงไหนดี
หลายทศวรรษที่ผ่านมาพบว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศได้ส่งผลให้ภัยแล้งทวีความรุนแรงมากขึ้น ขยายขอบเขตความเสียหายกว้างมากขึ้น และยิ่งสภาพอากาศมีความแปรปรวนสูง ประกอบกับปรากฏการณ์เอลนีโญยิ่งทำให้บางภูมิภาคของโลกเกิดความแห้งแล้ง โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเสี่ยงเผชิญอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าระดับปกติ และอาจเกิดสภาพอากาศแปรปรวนในบางพื้นที่ เช่น บริเวณที่เคยมีฝนตกชุกอาจต้องเผชิญกับความแห้งแล้งฉับพลัน หรือในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำฝนอาจเผชิญกับพายุฝนรุนแรง เป็นต้น (1)
บทเรียนดับไฟป่ามูลนิธิกระจกเงา ‘ไฟ’ เกิดจาก ‘คน’ รัฐต้องเท่าทันเทคโนโลยี
ปัญหาไฟป่าในจังหวัดภาคเหนือตอนบนเรื้อรังมานานกว่า 10 ปี แม้ภาครัฐจะออกมาตรการมาแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่ตรงจุด มูลนิธิกระจกเงาเป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ตั้งทีมอาสาสมัครไปช่วยดับไฟป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และเชียงใหม่