ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากฝุ่น PM2.5 กว่า 7 หมื่นคน (สูงเป็นอันดับสามของอาเซียนรองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม) และมลพิษอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดเลือดในสมอง หัวใจขาดเลือด มะเร็งปอด และติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง ฯลฯ การสูดฝุ่น PM2.5 เข้าไปทุกจึงเสมือนการตายผ่อนส่ง
pm2_5
แหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 เมืองกรุง
ซับซ้อน-ต้นทุนสูง-ตายปีละ 5 หมื่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็นเป็นเรื่องยากต่อการอธิบาย สร้างความเข้าใจ และความตระหนักต่อประชาชน โดยเฉพาะภัยคุกคามจากมลพิษอากาศ อย่างเช่นฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนหรือฝุ่น PM2.5 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า แต่ละปีในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรร่วม 5 หมื่นคน และมีต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์มูลค่า 8-9 แสนล้านบาท
ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศกพ.) ซึ่งเป็นศูนย์ประสานงานกลางภายใต้รัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองชี้แจงหลังภาคประชาชนและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ต่อศาลปกครองกลางกรณีละเลยหน้าที่ในการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5
คนไทยไม่ได้มีปอดเหล็ก
แข็งแรงกว่าคนทั่วโลก 3.3-5 เท่า
จี้รัฐปรับค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5
รศ.ดร.วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Witsanu Attavanich ตอนหนึ่งว่า ขณะที่แอปตรวจฝุ่นพิษ PM2.5 ของสากลในวันที่ 8 ก.พ. 2565 “สีแดง” บ่งชี้ว่าอันตรายมากต่อสุขภาพ แต่แอปของไทยยัง “เหลืองและส้ม” บ่งชี้ว่ายังไม่อันตรายมาก มันคืออะไร?? ปรับได้แล้วทั้งค่ามาตรฐานฝุ่นพิษ…